ส่งออกไทยยังเติบโตดีแต่กังวลสงครามอิสราเอลกับฮามาส

นนทบุรี 24 ต.ค.-ปลัดกระทรวงพาณิชย์เผยยอดตัดเลขส่งออกเดือน ก.ย.66 ยังเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มีมูลค่า 25,476.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.1 คาดที่เหลือหากดันยอดเฉลี่ยต่อเดือนได้ 24,000 ล้านเหรียญสหรัฐโอกาสส่งออกทั้งปีติดลบเพียงร้อยละ 1 แต่ยังกังวลปัญหาสงครามอิสราเอลกับฮามาส หากไม่ขยายวงคงไม่กระทบมากแต่หากขยายวงกระทบส่งออกรอบตะวันออกกลาง แต่เตรียมแผนรองรับไว้แล้ว พร้อมนัดประชุมทูตพาณิชย์ทั่วโลกในวันที่ 3 พ.ย.นี้


นายกีรติ  รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงยอดการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนกันยายน 2566 และ 9 เดือนแรกของปี 2566 โดยยอดส่งออกของไทยในเดือนกันยายน 2566 มีมูลค่า 25,476.3 ล้านเหรียญสหรัฐ(888,666 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 2.1 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ1.0 การส่งออกของไทยขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง โดยได้รับแรงหนุนจากการการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ไปจีน อาทิ ทุเรียน และมังคุด รวมทั้งการส่งออกข้าวที่ขยายตัวได้ดีในตลาดแอฟริกาใต้และอินโดนีเซีย สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมดาวรุ่งที่ขยายตัวต่อเนื่องยังคงเป็นสินค้าที่เติบตามเมกะเทรนด์ เช่นโซลาเซลล์ และโทรศัพท์มือถือ อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตโลกเดือนนี้ยังคงอยู่ในภาวะหดตัว การฟื้นตัวของตลาดหลักยังเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จากปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการคงอัตราดอกเบี้ยสูงยาวนาน ชะลออุปสงค์ทั่วโลก ทั้งนี้ การส่งออกไทย 9 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 3.8 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 1.2 

ทั้งนี้ การส่งออกในเดือนกันยายน มีมูลค่า 25,476.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 23,383.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 8.3 ดุลการค้า เกินดุล 2,092.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 213,069.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 218,902.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.0 ดุลการค้า 9 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 5,832.7 ล้านเหรียญสหรัฐ


มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกันยายน 2566 การส่งออก มีมูลค่า 888,666 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 825,310 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 10.2 ดุลการค้า เกินดุล 63,355 ล้านบาท ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 7,268,400 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 3.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 7,558,144 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.9 ดุลการค้า 9 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 289,744 ล้านบาท

ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมีการขยายตัวร้อยละ 12.0 พลิกกลับมาขยายตัวในรอบ 5 เดือนโดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 17.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 5.4 พลิกกลับมาขยายตัวในรอบ 6 เดือน มีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 166.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เวียดนาม และฮ่องกง) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 51.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดแอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย สหรัฐฯ มาเลเซีย และเบนิน) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 3.7 กลับมาขยายตัวในรอบ 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และเกาหลีใต้) น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 16.3 กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซียกัมพูชา เวียดนาม ไต้หวัน และสิงคโปร์) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 12.8 กลับมาขยายตัวในรอบ 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย เกาหลีใต้ เวียดนาม เนเธอร์แลนด์ และฟิลิปปินส์) สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวร้อยละ 27.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร) ผักกระป๋องและผักแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 17.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯจีน เกาหลี และออสเตรเลีย) นมและผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวร้อยละ 3.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกง เวียดนาม เมียนมา และอียิปต์) ผักสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 7.9 ขยายตัวต่อเนื่อง2 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ไต้หวัน สหรัฐฯ กัมพูชา และเมียนมา)ไข่ไก่สด ขยายตัวร้อยละ 52.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 17 เดือน (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ ไต้หวัน มัลดีฟส์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 12.0 หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ขยายตัวในตลาดลิเบีย ซาอุดีอาระเบียแอฟริกาใต้ จีน และอาร์เจนตินา) ยางพารา หดตัวร้อยละ 30.3 หดตัวต่อเนื่อง 14 เดือน (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซียญี่ปุ่น สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ แต่ขยายตัวในตลาดตุรกี ฝรั่งเศส กัมพูชา โรมาเนีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ไก่แปรรูป หดตัวร้อยละ 11.2 หดตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้และไอร์แลนด์ แต่ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ แคนาดา ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ และฝรั่งเศส) อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวร้อยละ7.9 หดตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และเยอรมนี แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น อิตาลี อินโดนีเซีย ไต้หวัน และสหราชอาณาจักร) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 3.9 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลียแคนาดา และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดจีน เนเธอร์แลนด์ลาว สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมียนมา) ทั้งนี้ 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 2.0


ขณะที่ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม กลับมาหดตัว (หลังจากขยายตัวเดือนก่อนหน้า) ร้อยละ 0.3 (YoY) แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 3.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น มาเลเซียและซาอุดีอาระเบีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 27.3 กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง อิตาลีสหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม และญี่ปุ่น) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 23.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เนเธอแลนด์และเม็กซิโก) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบขยายตัวร้อยละ 46.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 23 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน อิตาลี และญี่ปุ่น) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 28.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ และเม็กซิโก) 

สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 24.3 หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน(หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง สิงคโปร์ เนเธอแลนด์ และญี่ปุ่น แต่ขยายตัวในตลาดจีน ออสเตรเลีย อินเดีย ไต้หวันและเวียดนาม) ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 5.5 หดตัวต่อเนื่อง10 เดือน (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ออสเตรเลียเวียดนาม และเนเธอร์แลนด์ แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และอินเดีย) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 27.7 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย สหรัฐฯ เวียดนาม ญี่ปุ่น และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี สหราชอาณาจักร และ เกาหลีใต้) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 34.6 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และเบลเยียม แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น อิตาลี อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ และเยอรมนี) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม หดตัวร้อยละ 15.8 หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ อินเดีย เวียดนาม และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ขยายตัวในตลาดจีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย เมียนมา และไต้หวัน) ทั้งนี้ 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 3.7

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการส่งออกของไทยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาถือว่ากลบับมาเป็นบวกที่มียอดเฉลี่ยต่อเดือน24,000-25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และมองว่าในช่วงเวลาที่เหลือปีนี้ หากไทยเร่งผลักดันยอดส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนละ 24,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โอกาสทำให้ยอดส่งออกทั้งปีจะติดลบเพียงร้อยละ 1 และจะไม่ติดลบเกินกว่าที่หลายสำนักคาดการณ์เอาไว้ที่อาจติดลบถึงร้อยละ 2 เนื่องจากไทยยังมีคำสั่งซื้อสินค้าในหลายกลุ่มเข้ามาต่อเนื่อง และที่สำคัญในหลายประเทศยกเว้นไทยและเวียดนาม ยอดส่งออกกลับมาเป็นบวกและหลายประเทศติดลบน้อยลง แต่สิ่งที่ยังกังวล คือ สงครามอิสราเอลและฮามาสหากยังอยู่ในวงจำกัดก็ไม่น่าจะกระทบอะไรมาก แต่หากรุนแรงขยายวงจะต้องติดตามดูว่าจะกระทบในด้านการขนส่งสินค้าหรือไม่ โดยเฉพาะขนส่งทางบกและทางทะเลเป็นต้น 

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินไว้หากจะทำให้ยอดการคส่งออกติดลบปีนี้เพียงร้อยละ 1 เท่ากับจะต้องเร่งผลักดันส่งออกในช่วงเวลาที่เหลือต่อเดือน 23,827 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเป็นบวกร้อยละ 0 ยอดส่งออกอยู่ที่ 24,700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเป็นบวกร้อยละ 1 ยอิดส่งออกอยู่ที่ 25,743 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ก็คาดว่า ในเวลานี้การส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนน่าจะเกินกว่า 23,000-24,000 ล้านเหรียญสหรัฐก็เป็นเรื่องที่พอใจกับความร่วมมือกับภาคเอกชนทุกกลุ่มเพื่อร่วมกันผลักดันการส่งออกอย่างเต็มที แม้บางประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มตะวันออกกลางในหลายสินค้าจะติดลบอยู่บ้าง แต่ความต้องการในสินค้าอื่นๆของไทยยังเติบโตได้ดีอย่างมาก และเพื่อในวันที่ 3 พ.ย.นี้นายภูมิธรรมเวชชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นประธานประชุมมอบนโนบายกับทูตพาณิชย์ทั่วโลกและประเมินทิศทางภาคการส่งออกในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ พร้อมทั้งเตรียมแผนรองรับหากสถานการณ์สงครามอิสราเอลและกลุ่มฮามาสมีความรุนแรงขยายวงไปจะรับมือภาคการค้ากันอย่างไรได้ต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยิงสส.กัมพูชา

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” ดับกลางกรุงเทพฯ

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ดับใกล้วัดดังกลางกรุง พบเหยื่อมีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาลฮุนเซน

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงเพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม

ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา เพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม พร้อมกำหนดบทลงโทษหากพบเข้าไปข้องเกี่ยว

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา-วอศ.สระบุรี ชนะเลิศแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา และ วอศ.สระบุรี ชนะเลิศในการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025 ณ เมืองฮาร์บิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ข่าวแนะนำ

ปล่อยตัว “แซม ยุรนันท์” สวมกอดครอบครัว ขอกลับบ้านก่อน

“แซม ยุรนันท์” ได้รับการปล่อยตัวแล้ว สวมกอดครอบครัวด้วยสีหน้ามีความสุข พร้อมขอบคุณสื่อมวลชนที่มาต้อนรับ ขอกลับบ้านก่อน ขอบคุณกระบวนการยุติธรรม

จับแล้วมือยิงอดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ย่านบางลำพู

“ผู้การจ๋อ” ส่ง “สารวัตรแจ๊ะ” นำทัพสืบ บช.น. ร่วมตำรวจกัมพูชา แกะรอยบุกจับ “จ่าเอ็ม” มือยิง “ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ถึงพระตะบอง ประเทศกัมพูชา

ปล่อยตัว “มิน พีชญา” หลังอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีดิไอคอน ขอบคุณกระบวนการยุติธรรม

ปล่อยตัว “มิน พีชญา” หลังอัยการสั่งไม่ฟ้องคดี “ดิไอคอน” เปิดใจขอบคุณกระบวนการยุติธรรมและทัณฑสถานหญิง ดูแลเป็นอย่างดี ยืนยันบริสุทธิ์ใจตั้งแต่แรก พร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งวันนี้ได้พิสูจน์ตนเองแล้ว

พบ จยย.มือยิงอดีตนักการเมืองกัมพูชาจอดทิ้งปั๊ม คาดได้ตัวเร็วๆ นี้

ตำรวจตรวจพบรถจักรยานยนต์มือยิงอดีตนักการเมืองฝ่ายค้านกัมพูชาแล้ว จอดทิ้งไว้ที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง บริเวณเลียบด่วนมอเตอร์เวย์ คาดได้ตัวคนร้ายเร็วๆ นี้