fbpx

ระเบียบร่วมลงทุนงานวิจัยรัฐ-เอกชน บังคับใช้แล้ว

ทำเนียบฯ 1 ส.ค. – คลอดแล้ว! ระเบียบส่งเสริมรัฐบาล-เอกชนร่วมลงทุน นำงานวิจัยใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หนุนสตาร์ทอัพ-สมาร์ทเอสเอ็มอี เติบโต


น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลให้สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อช่วยเกษตรกรและชุมชน หรือเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ล่าสุดวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ระเบียบสำนักนำยกรัฐมนตรี ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ มีผลบังคับใช้แล้ว

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบมาตรการ 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันวิจัย และหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์ด้านการวิจัย และนวัตกรรม หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กำหนด


น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า สาระสำคัญ ระเบียบร่วมลงทุนฯ ได้กำหนดวัตถุประสงค์การร่วมทุนเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ 1) เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ เชิงสังคม หรือเชิงสาธารณประโยชน์ 2) เพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน และ 3) เพื่อสร้างธุรกิจฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมรายใหม่ ซึ่งลักษณะโครงการร่วมลงทุน ครอบคลุมโครงการที่นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีความพร้อมไปใช้ดำเนินการ หรือเป็นโครงการที่มีอยู่แล้วและนำไปศึกษาต่อยอด หรือนำไปขยายผลให้เกิดการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง

สำหรับรูปแบบการร่วมลงทุน ระบุว่า หน่วยงานเจ้าของโครงการร่วมลงทุน สามารถร่วมลงทุนกับเอกชน 1) จัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน 2) จัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน (Holding Company) หรือ 3) จัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนใน ‘วิสาหกิจเริ่มต้น’ หรือ สตาร์ทอัพ (Startup) มีวัตถุประสงค์ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้

การอนุมัติโครงการร่วมลงทุน ต้องพิจารณาความสอดคล้องของนโยบายร่วมลงทุน ข้อเสนอ เงื่อนไข ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ แผนธุรกิจ และแผนการจัดการความเสี่ยง รวมถึงความพร้อมของผู้ร่วมทุนและประสบการณ์ โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการต้องจัดทำสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนที่ต้องผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมทั้งการติดตามและประเมินผลโครงการ ซึ่งต้องกำหนดตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นความคุ้มค่าของการลงทุน และประสิทธิภาพในการบริหารการลงทุน และประเมินผลตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานเจ้าของโครงการกำหนด


สำหรับวิธีการคัดเลือกเอกชนมาร่วมลงทุน 1) คัดเลือกจากเอกชนอย่างน้อย 3 ราย ที่เข้ายื่นข้อเสนอร่วมลงทุน โดยยึดหลักเกณฑ์การคัดเลือกด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม โดยเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติ ประสบการณ์ ความพร้อม และความสามารถในการเข้าร่วมลงทุนเหมาะสมตามเกณฑ์ (2) ใช้วิธีการเฉพาะเจาะจง โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการเชิญชวนเฉพาะเอกชน ซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ

ระเบียบดังกล่าว ยังกำหนดว่า เพื่อให้การดำเนินการจัดตั้งและดำเนินงานของบริษัทร่วมทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีโอกาสประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจในอนาคต หน่วยงานเจ้าของโครงการอาจดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานเจ้าของโครงการไปวิจัยหรือสร้างนวัตกรรมในบริษัทร่วมทุน (2) ส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานเจ้าของโครงการไปบริหารหรือปฏิบัติงานในบริษัทร่วมทุนได้ตามความเหมาะสม (3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนในหน่วยงานเจ้าของโครงการซึ่งเป็นสถานศึกษาไปศึกษา วิจัย สร้างนวัตกรรม หรือปฏิบัติงานอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในหลักสูตรโดยตรง (4) ให้ใช้สถานที่ โครงสร้างพื้นฐาน ห้องปฏิบัติการ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นในทำนองเดียวกันของหน่วยงานเจ้าของโครงการ โดยไม่มีค่าบริการ หรือมีค่าบริการอัตราพิเศษก็ได้ (5) ให้ใช้บริการของหน่วยงานเจ้าของโครงการ โดยไม่มีค่าบริการ หรือมีค่าบริการอัตราพิเศษก็ได้ (6) จัดซื้อหรือจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากบริษัทร่วมทุน ในกรณีที่สินค้าหรือบริการนั้น มีคุณภาพ มาตรฐานที่แข่งขันได้ในท้องตลาด และมีราคาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ตามบัญชีนวัตกรรมไทย (7) การส่งเสริมอื่นที่สภานโยบายฯ ประกาศกำหนด

“ระเบียบดังกล่าวจะทำให้งานวิจัยต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก จะช่วยเพิ่มรายได้และโอกาสจากการนำผลงานวิจัยไปเป็นฐานในการผลิตและบริการ เพิ่มจำนวนบริษัทเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย กลุ่มสตาร์ทอัพ หรือกลุ่มสมาร์ทเอสเอ็มอี ขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม (Innovation Economy) ช่วยขับเคลื่อนการสร้าง IDE และขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพิ่มมากขึ้น ตามเป้าหมายร้อยละ 2 ต่อจีดีพี” น.ส.ทิพานัน กล่าว. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผู้อพยพจากไทยคว้าแจ็กพอตเพาเวอร์บอล

ผู้อพยพจากไทยไปใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐดวงเฮง คว้ารางวัลแจ็กพอตลอตเตอรี่เพาเวอร์บอล ได้เงินรางวัลสูงถึง 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

“ซูเปอร์โพล” เผยผลสำรวจสเปก “ผบ.ตร.คนใหม่” ต้องซื่อสัตย์สุจริต

“ซูเปอร์โพล” เผยผลสำรวจสเปก “ผบ.ตร.คนใหม่” ต้องซื่อสัตย์สุจริต ชี้ประชาชนเบื่อมากข่าวนายตำรวจระดับสูง ควรเร่งทำงานสร้างความปลอดภัยให้ประชาชน

นายกฯ บอกขอโทษ “ปานปรีย์” แล้ว ไม่ขัดแย้ง

นายกฯ เผยขอโทษ “ปานปรีย์” แล้วหลังหลุดรองนายกฯ รับมีทั้งคนพอใจ ไม่พอใจ ยันสัมพันธ์ลูกเป็นเพื่อนกัน ไม่ขัดแย้ง เชื่อคนใหม่สานต่องานได้  

“ปานปรีย์” รับยื่นลาออก หลังถูกปรับพ้นรองนายกฯ

“ปานปรีย์” ยอมรับยื่นลาออก หลังถูกปรับออกจากรองนายกฯ ชี้หากไม่มีตำแหน่งพ่วงอาจทำงานไม่ราบรื่น ลั่นหากมีคนอื่นเหมาะสมกว่าให้มาทำงานแทน

ข่าวแนะนำ

ข้าราชการบรรจุใหม่เฮ! ปรับขึ้นเงินเดือน 1 พ.ค.67-68

รัฐบาลขึ้นเงินเดือนข้าราชการกลุ่มบรรจุใหม่ ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (1 พฤษภาคม 2567) หลังจัดงบประมาณไว้รองรับแล้ว ส่วนปี 2568 พร้อมขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี แตะ 18,000 บาท

นายกฯ มั่นใจ “พิชิต” ไม่ขาดคุณสมบัติ รมต.

นายกรัฐมนตรี มั่นใจ “พิชิต” ไม่ขาดคุณสมบัติ เพราะกฤษฎีกาตรวจสอบแล้ว หลังถูกยื่นตรวจสอบซ้ำ ขอโปรดเกล้าฯ ทราบพร้อมกันใครนั่ง รมว.กต.คนใหม่ ไม่ขอพูดก่อน เป็นตามขั้นตอน

“ปานปรีย์” ออกจาก รพ. เข้ากระทรวงลา ขรก.

“ปานปรีย์” เข้ากระทรวงฯ เก็บของ-อำลาข้าราชการ บางคนหลั่งน้ำตา เจ้าตัวบอกลาชั่วคราว เรียกใช้งานได้ บอกเพิ่งออกจากโรงพยาบาลเมื่อคืน

“อดีตทูตปู มาริษ” เข้าทำเนียบฯ พบนายกฯ

หลังข่าวแพร่สะพัด “อดีตทูตปู -มาริษ” จะได้นั่งเก้าอี้เจ้ากระทรวงบัวแก้ว แทน “ปานปรีย์” ล่าสุดเข้าพบนายกฯ บนตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาลแล้ว