5 ปัจจัยเสี่ยงอาคารถล่มจากพายุฤดูร้อน

กรุงเทพฯ 23 พ.ค. – นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ 5 ปัจจัยเสี่ยงพายุพัดถล่มหลังคาโรงอเนกประสงค์ ในโรงเรียน จ.พิจิตร แนะไม่ควรเข้าไปอยู่ในพื้นที่โครงหลังคาเมื่อเกิดพายุ แต่ควรหลบอยู่ในอาคารที่แข็งแรง เช่น อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก


ศ.ดร.อมร พิมานมาศ ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่าจากเหตุการณ์พายุพัดถล่มทำให้หลังคาโรงอเนกประสงค์ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตร พังถล่มเมื่อเย็นวันที่ 22 พ.ค.2566 ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายรายนั้น

สาเหตุทำให้เกิดการพังถล่มของอาคารโดยแบ่งเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความแรงพายุ และความแข็งแรงของโครงสร้าง โดยสรุปไว้ 5 ปัจจัยได้แก่


  1. ความแรงของพายุฤดูร้อน สำหรับประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดูจากฤดูร้อนไปสู่ฤดูฝน ประมาณช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. ทุกปี จะได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนรุนแรงโดยเฉพาะจังหวัดทางภาคเหนือและภาคอีสาน เนื่องจากมีกระแสลมที่แปรปรวนเกิดขึ้น พายุฤดูร้อนมีความรุนแรงมากกว่าลมปกติทั่วไป 2-3 เท่า แม้จะเกิดในบริเวณแคบๆ ในระยะเวลาสั้น แต่ด้วยความแรงที่สูง ก็สามารถทำให้โครงสร้างพังถล่มได้ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีตแล้วหลายครั้ง
  2. ลักษณะทางกายภาพของโครงสร้างที่มีพื้นที่ปะทะลมมาก เช่น โครงหลังคา หรือ ป้ายโฆษณา ซึ่งแรงลมที่ปะทะเข้ามาก็จะเพิ่มขึ้นตามพื้นที่รับลม ดังนั้นโครงสร้างหลังคาที่มีช่วงยาวมาก ก็ย่อมมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
  3. การออกแบบโครงสร้างไม่ได้คำนึงถึงพายุฤดูร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างที่ก่อสร้างมาก่อนปี 2550 ซึ่งมาตรฐานหรือกฎกระทรวงกำหนดที่กำหนดค่าแรงลมสำหรับการออกแบบโครงสร้างในสมัยก่อน ไม่ได้คำนึงถึงแรงลมจากพายุฤดูร้อน จึงทำให้ค่าแรงลมที่ใช้ในการออกแบบต่ำกว่าความเป็นจริง 2-3 เท่า
  4. การก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน สังเกตจากรูปอาคารที่ถล่มพบว่า เสาคอนกรีตหักโค่นลงมา แล้วทำให้หลังคาพังถล่มตามมา ซึ่งบ่งชี้ว่ากำลังรับน้ำหนักของเสาไม่เพียงพอ ประกอบการโครงหลังคาค่อนข้างสูง ความชะลูดของเสาทำให้กำลังรับน้ำหนักลดลงไปมาก ดังนั้นเมื่อมีแรงลมมาปะทะ ทำให้เสาเกิดการโย้ตัว และด้วยน้ำหนักที่มากของโครงหลังคาทำให้เสาหัก โครงหลังคาจึงตกลงมากระแทกพื้นดิน
  5. คุณภาพของวัสดุและการก่อสร้างอาจไม่ได้มาตรฐาน สังเกตได้จากคอนกรีตที่แตกหักเป็นชิ้นๆ แสดงว่าคอนกรีตที่ใช้อาจมีกำลังอัดที่ต่ำ ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้รับน้ำหนักไม่ได้เช่นกัน

ทั้ง 5 ปัจจัยนี้ เป็นเพียงการวิเคราะห์ในเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าสาเหตุที่ทำให้โครงหลังคาถล่มอาจเกิดจากหลายๆปัจจัยร่วมกัน หรืออาจมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ ต้องรอผลการตรวจสอบและการวิเคราะห์โดยละเอียด และต้องได้ข้อมูลจากสถานที่จริง แบบก่อสร้าง คุณภาพวัสดุ เศษซากปรักหักพังของคอนกรีตและเหล็กเสริม เพื่อนำมาวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงต่อไป

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ ยังระบุต่อว่าพายุฤดูร้อนเป็นภัยร้ายแรงที่ประมาทไม่ได้ และยังมีความเสี่ยงในช่วงนี้อยู่มาก เพราะยังอยู่ในช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู คาดว่ายังมีอาคารอีกหลายหลังที่เข้าข่ายความเสี่ยงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารที่ใช้แบบมาตรฐานที่ก่อสร้างคล้ายๆกัน ตลอดจนยังมีโครงสร้างประเภทอื่นที่มีความเสี่ยง เช่น ป้ายโฆษณา เป็นต้น ซึ่งข้อแนะนำเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัย คือไม่ควรเข้าไปอยู่ในพื้นที่โครงหลังคาเมื่อเกิดพายุ แต่ควรหลบอยู่ในอาคารที่แข็งแรง เช่น อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว ภายหลังเหตุการณ์นี้ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องควรเร่งตรวจสอบความแข็งแรงของโครงหลังคาที่ก่อสร้างไปแล้ว และต้องทำการเสริมกำลังให้กับโครงสร้างอาคารตามหลักวิศวกรรมต่อไป .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

อดีตครูจำใจสร้างห้องขังในบ้าน เตรียมคุมลูกติดยา

สลด! อดีตครูวัย 64 ปี จำใจจ้างช่างทำห้องคล้ายกรงขังในบ้าน เตรียมคุมลูกติดยา-พนันออนไลน์ หลังส่งตัวบำบัดกว่า 10 ครั้ง แต่ออกมาก็เหมือนเดิม

หนุ่มใหญ่ควบเก๋งเผลอเหยียบผิดพุ่งทะลุกำแพงอาคารจอดรถดิ่งตกจากชั้น 2

หนุ่มใหญ่ควบเก๋งเผลอเหยียบผิดพุ่งทะลุกำแพงอาคารจอดรถดิ่งตกจากชั้น 2 โชคดีบาดเจ็บเล็กน้อย เจ้าหน้าที่ส่งรักษาตัวที่ รพ.เจ้าพระยา

อาม่าแจ้งความ “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง” หลอกทำพิธีสูญ 60 ล้าน

อาม่าวัย 77 ปี โร่แจ้งความเอาผิด “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง” หลอกทำพิธี-แนะซื้อวัตถุมงคลแล้วไม่ได้รับของ สูญเงินกว่า 60 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ทนายตั้ม

“ทนายตั้ม” ปรากฏตัวแล้ว บอกไม่สบายใจมี ตร.เฝ้าหน้าบ้าน

ปรากฏตัวแล้ว “ทนายตั้ม” พบตำรวจเหตุมีเจ้าหน้าที่ไปเฝ้าที่บ้าน พร้อมแจงปมเงิน 39 ล้านบาท ค่าศิลปินจีน ที่แท้เป็นมิจฉาชีพหลอก “เจ๊อ้อย” ปฏิเสธพบคู่กรณี บอกยังไม่พร้อมคุย

เกาะกูด

“ภูมิธรรม” ย้ำจะรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของไทยไว้เท่าชีวิต

“ภูมิธรรม” มอง MOU44 คือกลไกที่ดีที่สุด ก่อนย้อนกลุ่มการเมือง พปชร.ไปถามหัวหน้าพรรคตัวเอง เพราะเป็นคนนำเจรจาในปี 57 ยันไม่เคยยกเลิกในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ย้ำรัฐบาลจะรักษาดินแดน-ผลประโยชน์ทางทะเลของไทยไว้เท่าชีวิต

US election

ทรัมป์-แฮร์ริส หาเสียงวันสุดท้าย ก่อนหย่อนบัตรวันนี้

ขณะนี้เหลือไม่ถึง 24 ชั่วโมงก็จะถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 5 พฤศจิกายน ผลสำรวจความเห็นประชาชนต่างชี้ว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ และนางคอมมาลา แฮร์ริส