IMF คาดเศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 2.8

เมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี 2 พ.ค. – IMF คาดเศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 2.8 ภูมิภาคเอเชียจะขยายตัวร้อยละ 4.6 ขณะที่ 3 องค์กร IMF, ADB, คลังอาเซียน+3 เตือนเงินเฟ้อ หนี้สาธารณะสูงขึ้น และความผันผวนการเงินโลก


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM+3) ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมหารือและแสดงความเห็นในประเด็นเศรษฐกิจและความร่วมมือทางการเงินของภูมิภาคอาเซียน+3 สรุปได้ ดังนี้

  1. ที่ประชุมได้หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค โดยผู้แทนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) และสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO) ต่างเห็นพ้องว่า เศรษฐกิจโลกและภูมิภาคอาเซียน+3 ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากการเปิดเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีน และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดย IMF คาดการณ์ว่า ในปี 2566 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 2.8 ในขณะที่เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 และคาดว่าในปี 2567 เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 และร้อยละ 4.4 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 องค์กร ได้ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน+3 ยังคงเผชิญความท้าทาย โดยเฉพาะจากอัตราเงินเฟ้อ หนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น และความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเงินโลก ด้วยเหตุนี้ อาเซียน+3 ต้องมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน การดำเนินนโยบายการคลัง เพื่อสนับสนุนกลุ่มเปราะบาง รวมทั้งความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการระดมทุนสำหรับโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้นำเสนอที่ประชุมให้ทราบถึงสถานการณ์และทิศทางเศรษฐกิจไทย โดยคาดว่า ในปี 2566 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 2.6 ในปี 2565 สืบเนื่องจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานและการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวที่เข้ามามากกว่า 6 ล้านคน ในไตรมาสแรกของปี 2566 นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงสู่เป้าหมายที่ร้อยละ 2.8 จากร้อยละ 1-3 ในเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 15 เดือน

  1. ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าของการปรับปรุงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) เพื่อให้สมาชิกสามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงินภายใต้ CMIM ด้วยเงินสกุลท้องถิ่นและสกุลเงินอื่นๆ ของประเทศสมาชิกได้ และให้การรับรองแผนงานการทบทวนความตกลง CMIM (Periodic Review) ครั้งที่ 2 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างความช่วยเหลือทางการเงินของภูมิภาค (Regional Financial Architecture) เพื่อบรรเทา ป้องกัน และแก้ไขวิกฤตการณ์ในอนาคต โดยที่ประชุมสนับสนุนการพัฒนากลไกการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแบบเร่งด่วน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางการเงินได้มากขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 จัดทำข้อเสนอรูปแบบของกลไกความช่วยเหลือทางการเงินแบบเร่งด่วนและแผนงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
  2. ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานของ AMRO และได้เห็นชอบนโยบายความคิดริเริ่มต่างๆ ที่จะดำเนินการในอนาคต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ AMRO อาทิ แผนการดำเนินงานระยะกลาง (Medium-term Implementation Plan: MTIP) สำหรับปี 2566-2568 การจัดตั้งศูนย์ความรู้ระดับภูมิภาค เครือข่ายคลังสมองอาเซียน+3 การสนับสนุนงานด้านเลขานุการให้แก่ความร่วมมือทางการเงินอาเซียน+3 และแนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลของผู้บริหาร เพื่อยกระดับการกำกับดูแลของ AMRO ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต
  3. ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินการตามแผนระยะกลางของมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) สำหรับปี 2562-2565 และให้การรับรองแผนงานระยะกลางใหม่ของ ABMI สำหรับปี 2566-2569 ที่ประกอบด้วย 5 เสาหลัก ได้แก่ (1) การส่งเสริมการเงินที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาค (2) การปรับปรุงการกำกับดูแลตลาดและพัฒนากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมข้ามพรมแดน (3) การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการรวมตัวของตลาดการเงินอาเซียน+3 (4) การส่งเสริมสภาพคล่องของตลาดตราสารหนี้ โดยใช้สกุลเงินท้องถิ่น เพื่อลดความเสี่ยงจากธุรกรรมข้ามพรมแดน และ (5) การสนับสนุนการพัฒนาตลาดตราสารหนี้สกุลเงินท้องถิ่น
  4. ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าทิศทางการดำเนินการในอนาคตของกรอบความร่วมมือทางการเงินอาเซียน+3 ได้แก่ การจัดหาเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนากลไกเพื่อรองรับปัญหาด้านมหภาคและปัญหาเชิงโครงสร้าง การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเงินเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติ และการส่งเสริมความร่วมมือด้านนโยบายเพื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบเรื่องการทำธุรกรรมและชำระเงินข้ามพรมแดนด้วยสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาค การพัฒนาหนี้ภาคธุรกิจที่มีความเสี่ยง การพัฒนาฐานข้อมูลหนี้ครัวเรือน และการปฏิรูปนโยบายเพื่อรองรับการเงินเพื่อความยั่งยืนในภูมิภาค เป็นหัวข้อในการศึกษาภายใต้ความร่วมมือทางการเงินใหม่ของอาเซียน+3

นอกจากนี้ ในช่วงเช้าของวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน-ญี่ปุ่น ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อหารือถึงการยกระดับความร่วมมือทางการเงินระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งได้เข้าร่วมกล่าวปาฐกถาในงานเปิดตัวรายงาน เรื่อง “แนวทางการจัดหาเงินทุนใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นในอาเซียน+3” (Reinvigorating Financing Approaches for Sustainable and
Resilient Infrastructure in ASEAN+3) ที่จัดทำโดย ADB ซึ่งรายงานดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางการจัดทำนโยบายเพื่อพัฒนากลไกและนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ในระยะยาวต่อไป

จากนั้น ในช่วงบ่ายของวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้หารือทวิภาคีกับ H.E. Indranee Thurai Rajah รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่สอง สาธารณรัฐสิงคโปร์ และนาย Phouthanouphet Saysombath รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเงิน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในประเด็นเศรษฐกิจและการยกระดับความร่วมมือระหว่างกัน อาทิ การส่งเสริมการค้าการลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และพัฒนาความร่วมมือด้านความเชื่อมโยงทางกายภาพและดิจิทัล. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์

PEA ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา 5 จุด

เริ่มแล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับนโยบาย สมช.สั่งตัดไฟฟ้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในฝั่งเมียนมา 5 จุด เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้

บุกจับกำนันหญิงแหนบทองคำ ฉ้อโกง 41 ล้าน

ตำรวจพิษณุโลกเปิดปฏิบัติการ “หักขาไก่” นำ 10 หมายจับ รวบตัว “กำนันหญิงแหนบทองคำ” ประธานกองทุนหมู่บ้าน กับคณะกรรมการกองทุนฯ ร่วมฉ้อโกงประชาชน หลังชาวบ้าน 140 ราย แจ้งความ มูลค่าความเสียหาย 41 ล้านบาท

ชาวเมียวดีหวั่นถูกตัดไฟฟ้า เตรียมเทียนไข-ไฟโซลาร์เซลล์

ชาวบ้านเมียวดี ฝั่งเมียนมา ตรงข้ามชายแดนแม่สอด จ.ตาก หวั่นไทยตัดไฟฟ้า กระทบวงกว้าง เตรียมเทียนไข-ไฟโซลาร์เซลล์-เครื่องปั่นไฟ รับมือ ด้าน PEA ชี้ตัดไฟเมียนมาอาจสูญเปล่า หากไม่พิจารณาให้ครบถ้วน

ข่าวแนะนำ

พิรงรองคุก2ปี

คุก 2 ปี “พิรงรอง” กสทช. คดี “ทรู” ฟ้องกลั่นแกล้ง

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี “พิรงรอง” กรรมการ กสทช. ไม่รอลงอาญา ผิดมาตรา 157 ชี้มีเจตนากลั่นแกล้ง “ทรูไอดี” ให้ได้รับความเสียหาย กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในทีวีดิจิทัล

นายกฯพบสีจิ้นผิง

นายกฯ เข้าเยี่ยมคารวะ “สี จิ้นผิง”

นายกฯ เข้าเยี่ยมคารวะ “สี จิ้นผิง” ย้ำความสัมพันธ์ทางการทูตและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ด้านจีนหนุนไทยมีบทบาทในเวที ระดับโลกและภูมิภาค

ตัดไฟแก๊งคอลเซ็นเตอร์

“ภูมิธรรม” ลงพื้นที่แม่สอด ชี้ยังสรุปไม่ได้ หลังตัดไฟเมื่อวาน

“ภูมิธรรม” ลงพื้นที่แม่สอด ชี้ยังสรุปไม่ได้ หลังตัดไฟแก้ปัญหาคอลเซ็นเตอร์ ขอทำไปประเมินไป อย่าทำให้เป็นประเด็น มองเป็นสิทธิฝั่งเมียนมาซื้อไฟฟ้าจากลาว ลั่นเดี๋ยวต้องคุยอีก ย้ำตัดไฟครั้งนี้ไม่ได้ใช้อารมณ์ รู้อยู่กระทบเศรษฐกิจบ้าง แต่แค่ 0.1%

รวบแล้วนักโทษหนีเรือนจำนนทบุรี จนมุมที่ จ.ชลบุรี

จับได้แล้วนักโทษชายหนีเรือนจำจังหวัดนนทบุรี ระหว่างออกกองงานภายนอก จนมุมที่หน้าโรงแรมแห่งหนึ่งย่านบางแสน จ.ชลบุรี ก่อนนำตัวมาสอบสวนและดำเนินคดีที่ สภ.เมืองนนทบุรี