ก.ล.ต.ชวนรู้จัก”ตราสาร Basel III AT1 ในไทย”

กรุงเทพฯ 27 มี.ค.-สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ชวนทำความรู้จัก ตราสาร Basel III Additional Tier 1 (Basel III AT1)  ระบุ ในไทยจะไม่เกิดกรณีที่ผู้ถือตราสาร Basel III AT1 จะได้รับความเสียหายมากกว่าผู้ถือหุ้น  


ฝ่ายตราสารหนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แจ้งว่า จากวิกฤตธนาคาร Credit Suisse และการตัดหนี้สูญของตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 หรือ ตราสาร Basel III Additional Tier 1 (Basel III AT1)* ของธนาคาร ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถาบันการเงินในวงกว้าง ก.ล.ต. จึงชวนมาทำความรู้จัก “ตราสาร Basel III AT1” ในไทย ซึ่ง ก.ล.ต. ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทและพฤติกรรมของผู้ลงทุนไทย

“ตราสาร Basel III AT1” เป็นตราสารที่ใช้ในการระดมทุนของธนาคาร โดยตราสารดังกล่าวจะสามารถนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารพาณิชย์ได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ธนาคารพาณิชย์มีช่องทางในการสร้างความเข้มแข็งของเงินทุนกองทุนเพิ่มขึ้น สำหรับกรณีธนาคาร Credit Suisse ซึ่งประสบปัญหาด้านสถานะทางการเงิน โดยในปี 2565 ธนาคารขาดทุนสุทธิที่เกือบ 7.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีลูกค้าได้ถอนเงินไปกว่า 1.33 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวของธนาคาร ทางรัฐบาลและธนาคารกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงได้มีการตัดสินใจเข้าช่วยเหลือ Credit Suisse โดยธนาคารกลางได้ให้กู้ยืมเงิน 5.37 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และช่วยเจรจาให้ UBS เข้ามาซื้อ (มูลค่าประมาณ 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) การเข้ามาแทรกแซงของรัฐบาลและธนาคารกลางได้ทำให้เข้าเงื่อนไขที่จะตัดหนี้ในส่วนของผู้ลงทุนในตราสาร Basel III AT1 ที่ Credit Suisse ได้มีการออกตราสารดังกล่าวไว้ ซึ่งในเวลาต่อมาทำให้ผู้ถือตราสาร Basel III AT1 ของ Credit Suisse ได้รับความเสียหายจากการลงทุนที่อาจมากกว่าผู้ถือหุ้น และผู้ถือตราสารอยู่ในระหว่างเตรียมการฟ้องร้องถึงการตัดหนี้สูญดังกล่าว


หากพิจารณาถึงสถานการณ์ของธนาคารพาณิชย์ของไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่า ผลกระทบของวิกฤตธนาคาร Credit Suisse ต่อระบบการเงินไทยนั้นมีจำกัด เนื่องจากธุรกรรมของภาคธนาคารและกองทุนอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับ ปัจจุบัน ธปท. มีการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ของไทยอย่างเข้มงวด โดยบังคับใช้เกณฑ์ด้านเงินกองทุนและสภาพคล่องกับธนาคารทุกแห่ง ซึ่งแตกต่างจากบางประเทศที่จะเน้นการกำกับดูแลที่เข้มงวดเฉพาะกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญเป็นหลัก รวมถึงสถิติภาพรวมของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยยังคงมีความมั่นคงและแข็งแรง และในปัจจุบันมีการออกตราสาร Basel III AT1 เพื่อเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันในต่างประเทศและผู้ลงทุนในวงจำกัดเท่านั้น ยังไม่มีการเสนอขายตราสารดังกล่าวต่อผู้ลงทุนรายย่อย 

นอกจากนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์การออกตราสาร Basel III AT1 เพื่อเสนอขายประชาชนทั่วไป ในไทยจะไม่เกิดกรณีที่ผู้ถือตราสาร Basel III AT1 จะได้รับความเสียหายมากกว่าผู้ถือหุ้น เนื่องจาก ก.ล.ต. ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับตราสาร Basel III เพื่อให้มีความเหมาะสมกับบริบทและพฤติกรรมของผู้ลงทุนไทย ในเรื่องดังต่อไปนี้ 

• การกำหนดเงื่อนไขในการปลดหนี้หรือตัดหนี้เป็นสูญของตราสาร Basel III ว่าจะต้องเกิดขึ้นภายหลังจากการลดทุนของธนาคารพาณิชย์เท่านั้น รวมถึงในการปลดหนี้ตามตราสารดังกล่าวจะต้องไม่มากไปกว่า


อัตราส่วนของการลดทุนของธนาคาร ซึ่งจะไม่ทำให้ผู้ถือตราสารเสียหายมากกว่าผู้ถือหุ้น

 • ธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตราสารจะต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยกรณีเสนอขายประชาชนทั่วไปต้องได้รับอันดับความน่าเชื่อถือที่ “investment grade rating” ขึ้นไปเท่านั้น

 • ธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตราสารต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเงินกองทุนเป็นรายเดือนบนเว็บไซต์ของธนาคารด้วย

อย่างไรก็ตาม ก่อนการลงทุนในตราสารทุกประเภท ก.ล.ต. ขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลเพื่อพิจารณาทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนอย่างระมัดระวังก่อนตัดสินใจลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงสูงและไม่คุ้นเคย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

นายกฯ สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือนภัย ลั่นยังไม่ได้ SMS แผ่นดินไหว

นายกฯ ลั่น จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับ SMS เตือนแผ่นดินไหว สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือน “กรมอุตุฯ ไป ปภ. เข้าเครือข่ายมือถือ” ไม่ต้องผ่าน กสทช. ระหว่าง รอ Cell Broadcast เต็มระบบ ก.ค.นี้

ปภ.ยันไม่มีความรู้สึกสั่นไหว ไม่ใช่ผลจากอาฟเตอร์ช็อก

ปภ.แถลงชี้แจงกรณีสถานการณ์อพยพออกจากอาคาร ยืนยันไม่มีความรู้สึกสั่นไหว ไม่ได้เป็นผลกระทบจากอาฟเตอร์ช็อก ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก

นายกฯ ติดตามภารกิจช่วยเหลือคนติดซาก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จุดเกิดเหตุอาคาร สตง.ถล่ม ติดตามภารกิจช่วยเหลือผู้ที่ติดค้างอยู่ใต้ซากอาคาร พร้อมให้กำลังใจทุกหน่วยงานทำงานอย่างเต็มที่

ตึกถล่มแผ่นดินไหว

72 ชั่วโมง ยังมีหวังพบผู้รอดชีวิตตึก สตง. ถล่ม

ใกล้ครบ 72 ชั่วโมงเหตุตึก สตง. ถล่ม แต่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายาม และยังมีความหวังในการค้นหาผู้ที่ติดอยู่ใต้ซาก