คลังเอเปค ยอมรับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ปัจจัยเสี่ยงต่อ APEC

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 20 ต.ค.- ผลการประชุมคลังเอเปค ครั้งที่ 29 ยอมรับปัญหาเศรษฐกิจโลก ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อ APEC หนุนชำระเงิน โอนเงินข้ามพรมแดน ส่งไม้ต่อสหรัฐ เจ้าภาพจัดประชุมปี 66


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 29 (The 29thAPEC Finance Ministers’ Meeting: APEC FMM) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้แทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจ และผู้บริหารองค์การระหว่างประเทศได้แก่ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) กองทุน IMF กลุ่มธนาคารโลก (WBG) องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ร่วมหารือ ด้านเศรษฐกิจ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งสู่การเงินการคลังยั่งยืน” โดยมีผลการประชุมAPEC FMM ดังนี้

1. ผลการประชุม APEC FMM ครั้งที่ 29 IMF คาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2566 ขยายตัว ร้อยละ 2.7 ต่อปี จากแนวโน้ม ชะลอตัวลงจากปี 2565 ส่วนของภาพรวมเศรษฐกิจของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค ในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5ต่อปี ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปีและคาดการณ์ว่าในปี 2566 เศรษฐกิจของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 เร่งขึ้นเล็กน้อยจากปี2565 โดยเศรษฐกิจโลกยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อราคาพลังงานที่สูงขึ้น ผลการคาดการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับการวิเคราะห์ของ ADB และ APEC PSUนอกจากนี้ADB ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าความร่วมมือของภูมิภาคเอเปคในด้านการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการเงินจะช่วยส่งผลให้เศรษฐกิจของเอเปคสามารถฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ


ในการนี้ผู้แทนไทยได้นำเสนอสถานการณ์และทิศทางเศรษฐกิจไทยโดยคาดว่าในปี 2565 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 – 3.5 ต่อปี เป็นการขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและนโยบายการคลังในลักษณะที่มุ่งเป้า (Targeted)เพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงานและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นพร้อมทั้งรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในระดับประเทศและระดับภูมิภาค

2. ผลการหารือในประเด็นการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ADB และ OECDได้นำเสนอประสบการณ์ด้านการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมทั้งนี้ องค์การระหว่างประเทศข้างต้น ได้กล่าวถึงกลไกที่จะสามารถส่งเสริมให้แต่ละเขตเศรษฐกิจสามารถบรรลุสู่เป้าหมายดังกล่าวได้ เช่น การพิจารณาใช้กลไกของกองทุนสีเขียวของอาเซียน (ASEAN Catalytic Green Finance Facility: ACGF) เพื่อช่วยในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว (Green infrastructure) การมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับการออกพันธบัตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่าง ๆ ได้แก่ การพันธบัตรสีเขียว (Green bond) พันธบัตรเพื่อสังคม (Social bond) พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability bond) พันธบัตรสีฟ้า (Blue bond) หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นนอกจากนี้ OECD ได้เน้นด้านการส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนและการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาเครื่องมือและมาตรฐานที่สอดคล้องและดำเนินการร่วมกันได้

ในการนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการสัมมนาเรืองDeveloping the Ecosystem for Sustainable Finance in the Capital Market เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 และการจัดทำเอกสารข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรื่องการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจะสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดทำนิยามด้านการเงินเพื่อความยั่งยืน การพัฒนาตลาดซื้อขายคาร์บอน การส่งเสริม SMEs ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เป็นต้น


3. ผลการหารือในประเด็นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลที่ประชุมได้รับทราบผลของการจัดทำรายงานเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลและนโยบายด้านภาษีในภูมิภาคเอเปค(Digitalization and tax policy in Asia and the Pacific)ของ ADB ซึ่งมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายด้านภาษี เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ในการให้ความช่วยเหลือต่อกลุ่มเป้าหมายโดยตรง การเพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การอำนวยความสะดวกโดยการเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลหรือธุรกิจเข้ากับเลขประจำตัวการนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลต่าง ๆ เป็นต้น

ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการสัมมนาเรื่อง Digital Technology for Efficient Tax Collection ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2565โดยเป็นการหารือเกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) ในการบริหารจัดการด้านข้อมูลภาษี รวมถึงแนวทางปฎิบัติด้านภาษีที่เป็นสากลยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำเอกสารข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรื่อง Digitalization of Fiscal Measures and Policy Innovations during the COVID-19 Pandemic ที่กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินนโยบายช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านภาษี การเงิน การบริการของภาครัฐ การศึกษา และสาธารณสุข ทั้งนี้ เอกสารข้อเสนอดังกล่าว ได้ระบุถึงกรณีศึกษาของไทยในการดำเนินนโยบายผ่านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล อาทิ ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National E-Payment) การเพิ่มการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Capture: EDC) ระบบภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Government e-Payment system)

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการจัดทำเอกสารการพิจารณาเชิงนโยบายการเชื่อมโยงการชำระเงินและการโอนเงินข้ามพรมแดน (APEC Policy Considerations for Developing Cross-border Payments and Remittances) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเขตเศรษฐกิจในเอเปคที่ต้องการเชื่อมโยงการโอนเงินและการชำระเงินระหว่างกันซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถทำธุรกรรมได้อย่างสะดวกรวดเร็วปลอดภัยด้วยต้นทุนที่ถูกลงรวมทั้งสนับสนุนการค้าและการท่องเที่ยวในภูมิภาคซึ่งจะช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในช่วงหลังโควิด-19

4. ผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเซบูที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าของผลลัพธ์ภายใต้การประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อประสบการณ์และวิธีการสำหรับการลงทุนด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค(APEC Experiences and Available Tools for Financing a Just Energy Transition) จากผู้แทนสหรัฐอเมริกา ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวทำให้ได้ทราบถึงแนวทางในการจัดหาเงินทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านพลังงาน(Just Energy Transition)ซึ่งสมาชิกเขตเศรษฐกิจสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับรูปแบบของแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละเขตเศรษฐกิจในอนาคตต่อไป .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ปะทะแล้ว บริเวณปราสาทตาเมือน หลังฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากยิง

สุรินทร์ 24 ก.ค.-ทบ.รายงานเหตุการณ์ปะทะบริเวณพื้นที่ปราสาทตาเมือน อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ หลังฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากยิง เมื่อเช้าวันที่ 24 กรกฎาคม 2568 วันที่ 24 กรกฎาคม 2568 เวลา 07.35 น. หน่วยเฉพาะกิจที่ดูแลพื้นที่ปราสาทตาเมือนรายงานว่า ได้ยินเสียงอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ของฝ่ายกัมพูชาบินวนอยู่บริเวณหน้าปราสาทตาเมือนธม แม้ไม่สามารถตรวจพบตัวอากาศยานได้ด้วยสายตา แต่สามารถได้ยินเสียงอย่างชัดเจน ต่อมาฝ่ายกัมพูชาได้นำอาวุธเข้าสู่ที่ตั้งบริเวณด้านหน้าแนวลวดหนาม และพบกำลังพลกัมพูชาจำนวน 6 นาย พร้อมอาวุธครบมือรวมทั้ง RPG เดินเข้ามาใกล้แนวลวดหนามบริเวณด้านหน้าฐานปฏิบัติการของไทย ฝ่ายไทยได้ใช้การตะโกนเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและยกระดับสถานการณ์ โดยฝ่ายไทยเฝ้าระวังตลอดแนวชายแดนเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาประมาณ 08.20 น. ฝ่ายกัมพูชาได้เปิดฉากยิงเข้ามาบริเวณตรงข้ามฐานปฏิบัติการทางทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือน ในระยะประมาณ 200 เมตร ขณะนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกองทัพบกกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะรายงานความคืบหน้าให้ทราบต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ปะทะทหารไทย-เขมร ลาม 6 พื้นที่ กำลังพลเจ็บ 2 นาย

กทม. 24 ก.ค.-ด่วน! เหตุปะทะทหารไทย-เขมร ลาม 6 พื้นที่ ทบ. เผยทหารกัมพูชา เปิดแนวรบเพิ่มที่ ผามออีแดง เขาพระวิหาร ส่วนทหารไทยงัดปืนใหญ่ตอบโต้ กำลังพลเจ็บ 2 นาย เมื่อวันที่ 24 ก.ค.68 ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.อ.ริชฌา สุขสุวานนท์ รองโฆษกกองทัพบก ระบุเพิ่มเติมว่า เวลา 0920 น. กองทัพบกพบการปะทะเพิ่มเติมตลอดแนวพื้นที่ผามออีแดง ปราสาทเขาพระวิหาร พบฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากใช้อาวุธทุกชนิดและ BM21 ส่วนฝ่ายไทยเข้าปะทะตามแผนพร้อมตอบโต้ปืนใหญ่สนาม 09.20 น. เจ้าหน้าที่ทหารบาดเจ็บ 2 นาย จากอาวุธยิงสนับสนุน ในพื้นที่บริเวณกลุ่มปราสาทตาเมือน จ.สุรินทร์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพื้นที่ที่มีการปะทะจำนวน 6 พื้นที่ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาควาย ช่องบก เขาพระวิหาร(ห้วยตามาเรีย/ภูมะเขือ) ช่องอ่านม้า ช่องจอม.-313.-สำนักข่าวไทย

ผบ.ทบ.นำคณะลงช่องอานม้า พรุ่งนี้ จ่อใช้แผนจักรพงษ์ภูวนาถ

23 ก.ค.- “ผบ.ทบ.” สั่ง ทภ.2-ทภ.1 เตรียมพร้อม “แผนจักรพงษ์ภูวนาถ” รับมือชายแดนไทย-กัมพูชา พร้อมยกคณะลงพื้นที่บัญชาการ วันที่ 23 ก.ค.68 พล.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผข.ทบ.) ได้สั่งการไปยังกองทัพภาคที่ 2 และกองทัพภาคที่1 รับผิดชอบพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชา เตรียมใช้แผนจักรพงษ์ภูวนาถ แก้ไขปัญหาพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชาหลัง กำลังพลของกองทัพบกไทยจากชุดลาดตระเวน พัน.ร.14 ประสบเหตุเหยียบกับระเบิดบริเวณห้วยบอน ช่องอานม้า อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พิกัด VA 950911 ซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการตามแนวชายแดน โดยส่งผลให้ จ่าสิบเอกพิชิตชัย บุญโคราช ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการสูญเสียขาขวา และอยู่ระหว่างการส่งตัวรักษาต่อ ณ โรงพยาบาลน้ำยืน โดยให้พร้อมปฏิบัติหน้าที่ทันที เมื่อสั่งการ ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (24 ก.ค.) พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก พลโท ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์ รองเสธ ทบ. พลโทบุญสินพาดกลาง มทภ.2 […]

“บิ๊กต่าย” อยากเคลียร์ใจครอบครัว “น้องเมย” ปมคู่กรณีได้เป็น ตร.

ตร. 23 ก.ค. – ผบ.ตร. อยากเคลียร์ใจครอบครัว “น้องเมย” ปมคู่กรณีได้เป็นตำรวจใต้บังคับบัญชาหลังเกิดเหตุ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 12 จังหวัดปราจีนบุรี อ่านคำพิพากษากรณีที่ ภคพงศ์ ตัญกาญจน์ หรือ น้องเมย นักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 เสียชีวิตปริศนา หลังจากถูกธำรงวินัยโดยรุ่นพี่ทหาร 2 นาย ภายในโรงเรียนเตรียมทหาร เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2560 ซึ่งหนึ่งในรุ่นพี่ที่เป็นจำเลย ปัจจุบันรับราชการตำรวจในภาคอีสาน พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ระบุว่า ตนได้รับรายงานเรื่องนี้แล้ว สิ่งที่อยากจะสื่อสารในประเด็นที่ 1 ตนอยากพบพ่อและแม่ของน้องเมยเป็นการส่วนตัว เพื่อจะได้พูดคุยให้เข้าใจในการปฏิบัติของตำรวจ ซึ่งเป็นประเด็นที่ 2 กรณีที่คู่กรณีเป็นตำรวจ เราต้องมองย้อนไปในขณะที่เกิดเหตุ มองถอยหลังกลับไป คู่กรณีรายดังกล่าวไม่ได้อยู่ในสถานะตำรวจ ฉะนั้นแล้วตามกฎหมาย พ.ร.บ.ตำรวจ ปี 2565 การดำเนินการทางวินัยจะดำเนินได้เฉพาะกับผู้ที่อยู่ในสถานะตำรวจ ซึ่งขณะนั้นคู่กรณีถือว่าอยู่ภายใต้กองบัญชาการกองทัพไทย ส่วนการพิจารณาทางวินัยตำรวจของคู่กรณี ตนได้สั่งให้จเรตำรวจแห่งชาติ นำไปประกอบการพิจารณา เนื่องจากวินัยและอาญาจะสามารถเชื่อมกันได้ในข้อเท็จจริงบางส่วน […]

ข่าวแนะนำ

เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวรองรับประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยชายแดน

ศรีสะเกษ 24 ก.ค. – บรรยากาศคืนแรกที่ศูนย์อพยพฯ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ประชาชนต้องละทิ้งบ้านเรือนมาพักอาศัยชั่วคราว จากเหตุปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นี่เป็นบรรยากาศค่ำคืนแรกที่ประชาชนในเขต อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ต้องออกมาพักอาศัยนอกบ้านเรือน ตั้งแต่เกิดเหตุกัมพูชายิงจรวดเข้าใส่เขตพักอาศัยของพลเรือน ซึ่งเป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำให้ตลอดทั้งวัน อ.กันทรลักษ์ มีการอพยพประชาชนแล้วมากกว่า 41,000 คน กระจายไปตามจุดต่างๆ โดยจุดนี้เป็นจุดที่น่าจะมีผู้อพยพมากที่สุด เพราะใกล้แนวชายแดนที่อยู่ในระยะปลอดภัยมากที่สุด คือ ประมาณ 40 กิโลเมตร จากแนวชายแดน มีประชาชนเข้ามาพักอาศัย 4,865 คน และยังมีจุดอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกระจายกันไป ผลจากสถานการณ์ตึงเครียดและพลเรือนตกเป็นเป้าของการโจมตี ทำให้หลายคนอยู่ในอาการเครียดและกังวล เจ้าหน้าที่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้กำลังใจเป็นระยะ รวมทั้งให้บริการยาและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นเบื้องต้น พร้อมกันนี้ได้ย้ำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของนายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้ฝากแจ้งประชาชนที่ยังลังเลไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากเป็นห่วงทรัพย์สินหรือสัตว์เลี้ยง ว่า ขณะนี้มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน ดูแลพื้นที่อย่างใกล้ชิดทุกหมู่บ้าน จึงขอให้ทุกคนให้ความร่วมมือ และออกมาจากพื้นที่เสี่ยงตามจุดนัดหมาย เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัว. – สำนักข่าวไทย

น้ำท่วมน่านหนักสุดเป็นประวัติการณ์

น่าน 24 ก.ค. – ยังน่าห่วง น้ำท่วมเขตเศรษฐกิจและตัวเมืองน่าน หนักสุดเป็นประวัติการณ์ บางจุดท่วมสูงถึงชั้น 2 ของบ้าน ประชาชนติดอยู่ในบ้านกลางน้ำ ยิ่งค่ำยิ่งลำบาก .-สำนักข่าวไทย

ไทม์ไลน์เหตุปะทะเดือด “ไทย-กัมพูชา”

24 ก.ค. – ไล่เรียงไทม์ไลน์เหตุปะทะเดือดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ที่เกิดขึ้นในวันนี้ (24 ก.ค.) มีที่มาที่ไปอย่างไร พลันที่ชุดลาดตระเวน กองพันทหารราบที่ 14 เหยียบกับระเบิดที่ช่องอานม้า จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเย็นวานนี้ (23 ก.ค.) ทำให้ทหาร 1 นาย บาดเจ็บสาหัสขาขาด อีก 4 นาย บาดเจ็บ ซ้ำรอยเหตุทหารไทยเหยียบกับระเบิดจนขาขาดในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ ทำให้สถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ตึงเครียดถึงขีดสุด พล.ท.บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 ยกระดับมาตรการตอบโต้สั่งปิดด่าน 4 แห่ง คือ ช่องอานม้า, ช่องสะงำ, ช่องจอม และช่องสายตะกู พร้อมปิดสถานที่ท่องเที่ยว 2 แห่ง คือ ปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควายทันที 07.35 น. วันนี้ (24 ก.ค.) ความรุนแรงเริ่มชัดเจนขึ้น เมื่อทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ดูแลพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม รายงานว่าได้ยินเสียงอากาศยานไร้คนขับ […]

ไม่พลาดเป้า! เอฟ-16 ทิ้งบอมบ์รอบ 2 กลับฐานปลอดภัย

24 ก.ค.- ทอ.เปิดปฏิบัติการ ส่งเอฟ-16 ทิ้งบอมบ์ฝั่งกัมพูชาไม่พลาดเป้า กลับฐานแล้วอย่างปลอดภัย เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 24 ก.ค.68 กองทัพอากาศ เปิดปฏิบัติการ ส่ง F-16 รอบ 2 ของวันนี้ 4 เครื่อง ในการโจมตีทางอากาศตอบโต้กองทัพกัมพูชา ในจุดสำคัญ ทางทิศใต้ของปราสาทตาเมือนธม ไม่พลาดเป้า โดยล่าสุด 17.00 น. F-16 ทั้ง 4 เครื่อง กลับฐานบิน ปลอดภัย หลังสนับสนุน เปิดปฏิบัติการ “ยุทธบดินทร์” -สำนักข่าวไทย