กสทช. เปิด 5 Facts กรณีควบรวมทรู-ดีแทค

กรุงเทพฯ 26 ส.ค. – กสทช.เปิด 5 ข้อมูลสำคัญ เพื่อแสดงความชัดเจน โปร่งใส กรณีการขอควบรวมธุรกิจระหว่าง “ทรู-ดีแทค” หลังหลายฝ่ายกังวลจะส่งผลกระทบกับผู้บริโภค และอาจเกิดการผูกขาดทางธุรกิจ


จากกรณีการขอควบรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งก่อให้เกิดคำถามขึ้นในสังคมว่าจะส่งผลกระทบกับผู้บริโภคอย่างไร จะทำให้เกิดการผูกขาดธุรกิจหรือไม่ และเป็นผลดีอย่างไรต่อเศรษฐกิจและประเทศ ตลอดจน กสทช. มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาต/ไม่อนุญาตหรือไม่

ล่าสุดสำนักงาน กสทช.ได้จัดทำข้อมูลในรูปแบบ Infographics ภายใต้หัวเรื่อง “5 Facts กรณีควบรวมทรู-ดีแทค” ชี้แจงผ่านสื่อ โดยระบุว่า ดีลนี้เป็นครั้งแรกที่มูลค่าทรัพย์สินและรายได้บริษัทควบรวมสูงที่สุดในประวัติศาสตร์การควบรวมกิจการด้านการสื่อสารของประเทศ อาจส่งผลให้ผู้รายใหม่เข้ามาแข่งขันในตลาดได้ยากขึ้น และอาจส่งผลกระทบทำให้การแข่งขันด้านราคาค่าบริการลดลง


ส่วนการควบรวมกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในต่างประเทศ ส่วนใหญ่มักเป็นการขอควบรวมจาก 4 ราย เหลือ 3 รายใหญ่ และแทบไม่มีประเทศใดเลยที่เป็นการควบรวมจาก 3 ราย เหลือ 2 รายใหญ่อย่างประเทศไทย เว้นแต่ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งปรากฏว่าหลังจากที่ควบรวมเหลือ 2 รายแล้ว ผ่านไป 10 ปี จึงมีรายที่ 3 เข้าตลาดมาใหม่

ขณะที่กรอบระยะเวลาในการพิจารณาการควบรวมกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในต่างประเทศที่ผ่านมา มีตั้งแต่ใช้เวลา 3 เดือน จนถึงไม่กำหนดกรอบระยะเวลา กสทช.จึงจำเป็นต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบและรัดกุมยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างขอขยายระยะเวลาในการปรับปรุงแก้ไขรายงานฯ

ส่วนผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ ทั้ง 4 คณะที่กสทช.แต่งตั้งขึ้น เพื่อพิจารณาดีลการควบรวมนี้ โดยด้านกฎหมายชี้ว่า กสทช. มีอำนาจในการพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ตลอดจนกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระทำที่เป็นการผูกขาด ลดการแข่งขัน ด้านเศรษฐศาสตร์พบว่า มีความเป็นไปได้ที่ผู้ขอรวมธุรกิจจะมีแรงจูงใจในการขึ้นค่าบริการหลังควบรวมสำเร็จ ผู้เล่นรายใหม่จะเจออุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดยากขึ้น GDP จะลดลงราว 0.05-1.99% ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น 0.05–2.07% ด้านเทคโนโลยี เห็นว่า กรณีการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้รวมธุรกิจมีผลดี/ผลเสียแตกต่างกัน และผู้ประกอบการที่มีโครงข่ายและคลื่นน้อยที่สุดจะได้รับผลกระทบมากที่สุด
ส่วนด้านผู้บริโภค เห็นว่าไม่ควรให้ควบรวม แต่หากให้มีการควบรวม ก็ควรมีการกำหนดเงื่อนไขและมาตรการ ทั้งเงื่อนไขกำกับในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น กำหนดให้มีการกระจายการถือครองคลื่นความถี่ เสาโทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐาน มีการกำหนดค่าตอบแทนการใช้โครงข่ายที่เป็นธรรม ตลอดจนกำหนดเงื่อนไขกำกับด้านพฤติกรรมของผู้ประกอบกิจการ เช่น การบริการและคุณภาพไม่ต่ำกว่าเดิม


ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช.ได้ดำเนินการจัดจ้างศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบด้านต่าง ๆ จากการรวมธุรกิจระหว่างทรู-ดีแทค โดยขอบเขตอำนาจทางกฎหมายเห็นว่า กสทช.มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขและมาตรการเฉพาะเพื่อป้องกันการผูกขาด หรือลด หรือจำกัดการแข่งขัน ในส่วนมาตรการเชิงโครงสร้างและพฤติกรรมเห็นว่า กสทช.ควรมีการเรียกคืนคลื่นความถี่การถือครองที่มากเกินความจำเป็นและควรมีการกำกับดูแลอัตราค่าบริการ กำหนดสัดส่วนการลงทุนของผู้ประกอบการด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อรายได้ รวมทั้งกำหนดความครอบคลุมของพื้นที่การให้บริการ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คลอดลูกแฝดตกตึก

หญิงวัย 31 เพิ่งคลอดลูกแฝด พลัดตกตึก 18 ชั้น รพ.ดัง เสียชีวิต

สลด! หญิงวัย 31 ปี เพิ่งคลอดลูกแฝด พลัดตกตึก 18 ชั้น โรงพยาบาลดัง เสียชีวิต ด้านโรงพยาบาลแถลงแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมทบทวนมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุแบบนี้ขึ้นอีก

ทหารควง M16 ยิงเพื่อนตำรวจดับคาบ้านพัก

ทหารพรานควง M16 บุกยิงเพื่อนตำรวจเสียชีวิตภายในบ้านพัก ก่อนขี่รถจักรยานยนต์ออกจากบ้านผู้ตาย เข้ามอบตัวกับตำรวจ สภ.เมืองปัตตานี เบื้องต้นคนก่อเหตุให้การวกวน เนื่องจากอยู่ในอาการหลอน

ลูกน้องปืนโหดรัวยิงหัวหน้างานดับคา สนง.ปฏิรูปที่ดินฯ

ลูกน้องชักปืนกระหน่ำยิงหัวหน้างานดับกลางห้องทำงาน สำนักงานปฏิรูปที่ดิน จ.น่าน ก่อนลั่นไกยิงตัวเอง ปมเหตุขัดแย้งเรื่องงาน

จนท.ปะทะเดือด! เสียงปืนสงบพบศพคนร้าย 4 ศพ

ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง นำกำลังปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่ อ.กรงปินัง จ.ยะลา เกิดการปะทะ เสียงปืนสงบพบศพคนร้าย 4 ศพ ยึดอาวุธสงคราม 3 กระบอก

ข่าวแนะนำ

ญาติแรงงานไทยเฮลั่นบ้านหลังเห็นภาพการปล่อยตัว

1 ปีกว่า กับการรอคอยสุดทรมาน แต่วันนี้ครอบครัวแรงงานไทย ทั้ง 5 คนที่ได้รับการปล่อยตัว ยิ้มออก โล่งใจ บอกว่าเป็นวันที่รอคอย ปาฏิหาริย์มีจริง