แนะตรวจไมโครชิปก่อนซื้อ “ปลาอโรวาน่า” เหตุเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

กรุงเทพฯ 18 มี.ค. – กรมประมงจับมือสหกรณ์ปลาสวยงามและผู้ค้าปลาตะพัดจัดทำเว็บไซต์สำหรับสืบค้นข้อมูลหมายเลขไมโครชิปปลาอโรวาน่าหรือปลาตะพัดทั้งที่ได้มาจากการนำเข้าและเพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทย เนื่องจากเป็นสัตว์อโรวาน่าและมีระเบียบเข้มงวดในการเพาะพันธุ์ หวั่นประชาชนซื้อปลาที่ไม่ได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย


นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า ได้จัดทำเว็บไซต์ฐานข้อมูลดังกล่าวได้เปิดให้เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ และประชาชนที่สนใจสามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลหมายเลขไมโครชิปปลาอโรวาน่าหรือปลาตะพัดทั้งที่นำเข้าและเพาะพันธุ์ในประเทศที่ได้มาถูกต้องตามกฎหมาย

ทั้งนี้สืบเนื่องจากผู้แทนสหกรณ์ปลาสวยงามแห่งสยาม จำกัดเสนอให้กรมประมงจัดทำฐานข้อมูลการนำเข้าปลาตะพัดในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์เพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าสัตว์น้ำอย่างผิดกฎหมาย เนื่องจากปลาอโรวาน่าหรือปลาตะพัด (Scleropages formosus) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) ซึ่งถือได้ว่าเป็นปลาที่สืบเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่ปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยที่ได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงปลาสวยงาม เป็นปลาสวยงามที่ราคาแพงและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติเนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลายไป


นอกจากนี้ปลาตะพัดยังเป็นสัตว์น้ำที่อยู่ในบัญชี 1 (Appendix I) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) โดยระเบียบในการค้าต้องเข้มงวดเป็นพิเศษและอนุญาตเฉพาะบางกรณี อีกทั้งปลาตะพัดถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ตามพ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ห้ามกระทำการใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตดังนี้

1. ห้ามล่า (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

2. ห้ามเพาะพันธุ์ (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)


3. ห้ามค้า (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

4. ห้ามครอบครอง (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

5. ห้ามนำเข้า ส่งออก หรือ นำผ่าน โดยปลาตะพัดที่จะส่งออกไปต่างประเทศจะต้องได้มาจากฟาร์มที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักเลขาธิการ CITES และต้องมีเครื่องหมายประจำตัวสัตว์น้ำ ซึ่งโดยทั่วไปนิยมเครื่องหมายประจำตัวปลาตะพัดโดยการฝังไมโครชิป (ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

นายเฉลิมชัยกล่าวต่อว่า ตลาดค้าปลาตะพัดมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นจึงมีการนำเข้าปลาตะพัดจำนวนมากซึ่งต้องควบคุมให้สามารถตรวจสอบให้เป็นไปตามกฎหมายได้ กรมประมงจึงจัดทำฐานข้อมูลไว้บนเว็บไซต์ https://arowana.fisheries.go.th ให้ประชาชนเข้าไปสืบค้นได้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

พ่อขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิตจากตึก สตง.ถล่ม

พ่อของหนุ่มขอนแก่น วัย 35 ปี หนึ่งในผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิต ส่วนหนุ่มช่างประปา วัย 32 ปี เหยื่อตึก สตง.ถล่ม เผาแล้ว แม่ยังทำใจไม่ได้ สะอื้นไห้หน้าเมรุ

“ชัชชาติ” เผยเตรียมกู้ 5 ร่างที่พบ-ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน

ผู้ว่าฯ กทม. เผยเตรียมกู้ 5 ร่าง จาก 14 ร่างที่พบ ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน ยันไม่ขีดเส้นตายหยุดช่วยเหลือ ปรับแผนเพิ่มการรื้อถอนด้วยเครื่องจักรหนักควบคู่ไปมากขึ้น