จ่อทบทวนประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การนำหมูลงเลี้ยงใหม่ หวั่นกระทบรายย่อย

กรุงเทพฯ 10 ก.พ. – กรมปศุสัตว์ แจงพร้อมทบทวน ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การนำสุกร หรือหมูป่า เข้ามาเลี้ยงใหม่ พ.ศ.2567 ย้ำหลักการป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริการในสุกร แต่หวั่นข้อกำหนดบางประการอาจกระทบเกษตรกรรายย่อย โดยเฉพาะชนเผ่าในพื้นที่สูงที่เลี้ยงสุกรไว้หลังบ้าน เตรียมหามาตรการยกระดับการเลี้ยงเกษตรกรรายย่อยให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด


นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวทางโซเชียลมีเดียถึงข้อกังวลต่อประกาศของกรมปศุสัตว์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การนำสุกร หรือหมูป่า เข้ามาเลี้ยงใหม่ พ.ศ. 2567 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 เมษายน 2568 ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย โดยเฉพาะผู้เลี้ยงสุกรหลังบ้านของชนเผ่าในพื้นที่สูงนั้น กรมปศุสัตว์พิจารณาแล้วเนื่องจากสาระสำคัญในบางประเด็นของประกาศดังกล่าว อาจจะมีความไม่ชัดเจน กรมปศุสัตว์จึงพร้อมนำมาพิจารณาทบทวนร่วมกับผู้แทนเกษตรกรรายย่อย รวมถึงคณะทำงานด้านวิชาการในการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนภาคเกษตรกร ภาคเอกชน และภาคการศึกษาเพื่อกำหนดมาตรการในการเลี้ยงสุกรให้มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันโรคได้ ตลอดจนสอดคล้องกับการประกอบอาชีพของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทุกระดับต่อไป

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน “กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานสินค้าการเกษตรสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. 2566” ได้ถูกประกาศและนำมาบังคับใช้แล้วในฟาร์มสุกรเชิงพาณิชย์ที่เลี้ยงสุกรขุน ตั้งแต่ 500 ตัวขึ้นไป หรือเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ ตั้งแต่ 95 ตัวขึ้นไป ซึ่งมีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ในการเลี้ยงและการจัดการฟาร์มเพื่อให้เนื้อสุกรมีมาตรฐาน ปลอดโรคและปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยผู้ประกอบการต้องได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ (Good Agricultural Practice: GAP) ด้วย


สำหรับเกษตรกรรายย่อยและผู้เลี้ยงสุกรหลังบ้านนั้น ในช่วงที่ผ่านมาได้รับความเสียหายจากการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร และโรคระบาดอื่นๆในสุกร เป็นเหตุให้เกษตรกรรายย่อยเลิกเลี้ยงจำนวนมาก กรมปศุสัตว์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยกระดับการป้องกันควบคุมโรค เนื่องจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคติดต่อในสุกรที่มีความรุนแรง มีอัตราการป่วยและตายสูง ไม่มีทางรักษาและยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการป้องกันโรค ซึ่งการยกระดับการป้องกันควบคุมโรคในการเลี้ยงของเกษตรกรรายย่อยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคระบาด สามารถเพิ่มผลผลิต สร้างรายได้ และมีอาชีพที่มั่นคงต่อไป

ทั้งนี้ หากเกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีข้อเสนอแนะสามารถแจ้งได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านทางแอพพลิเคชั่น DLD 4.0 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก app store และ google play store ทั้งในระบบ iOS และ android. -512 – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจ ลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร ด้านบริษัท 9PK นำเอกสารชี้แจง พร้อมขอให้บริษัทจีนช่วยอนุมัติเงินมาจ่ายให้กลุ่มผู้รับเหมาก่อน

จับแล้วโจรบุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่

จับแล้วโจรมาเลย์บุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่ จนมุมสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ เผยมาหาลูกชายที่ จ.นนทบุรี แต่ลูกไม่ให้เข้าบ้าน

ปิดล้อมจับชายวัย 43 ยิงเพื่อนบ้าน-ตร.เจ็บ 4

ตำรวจปิดล้อมนานถึง 11 ชั่วโมง จับชายวัย 43 ปี ใช้ปืนยิงเพื่อนบ้านและตำรวจที่เข้าระงับเหตุ บาดเจ็บรวม 4 ราย หลังโมโหเพื่อนบ้านติดกล้องวงจรปิดหันส่องไปทางบ้านผู้ก่อเหตุ ยิงแก๊สน้ำตา-ญาติเกลี้ยกล่อม ยังไม่เป็นผล

แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ในไต้หวัน-ไม่มีรายงานความเสียหาย

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไต้หวันรายงานวันนี้ว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดด 5.8 ที่เทศมณฑลอี้หลาน (Yilan) ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทห่างไกลทางตจะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

ข่าวแนะนำ

สงกรานต์ภูเก็ตสุดคึกคัก นักท่องเที่ยวแห่เล่นน้ำฉ่ำ

สงกรานต์ภูเก็ตปีนี้คึกคัก หาดป่าตองเล่นสงกรานต์กันยันสว่าง ขณะที่ช่วงเช้ามีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ และรำวงแบบไทย ภายใต้อุโมงค์น้ำริมชายหาด บรรยากาศครึกครื้น

สีสันปี๋ใหม่เมือง สงกรานต์ล้านนา

เริ่มแล้ว ประเพณีปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์ล้านนา ที่เชียงใหม่ ตระการตาสีสันวัฒนธรรมล้านนา พร้อมชมความงามของแม่หญิงขี่รถถีบกางจ้อง หนึ่งเดียวในไทย ขณะที่รอบคูเมืองเชียงใหม่-ลานประตูท่าแพ เล่นน้ำสงกรานต์คึกคัก

“ชัชชาติ” เผยไม่เจอสัญญาณชีพจุดพบแสงไฟ คาดกระจกสะท้อน

“ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” เผยไม่พบสัญญาณชีพจุดพบแสงไฟ คาดเป็นกระจกสะท้อน เร่งขุดโซนบนลดลงมาแล้วกว่า 3 เมตร ภาพรวมการรื้อซากกว่า 40%