บริหารน้ำยุคใหม่รับ Climate Change

กรุงเทพฯ 12 พ.ย. – กรมชลประทานถอดบทเรียนสถานการณ์น้ำ จัดเสวนา “สรุปการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 2567 และเตรียมความพร้อมสู่ฤดูแล้งปี 2567/2568” ชี้การบริหารจัดการน้ำยุคใหม่ต้องรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


การเสวนาครั้งนี้มีนายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ปัจจุบันคาบของปรากฏการณ์เอนโซสั้นขึ้น ปี 2567 เกิดทั้งเอลนีโญและลานีญาทั้งแล้งและฝนมากในปีเดียวกัน ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาพยายามจะคาดการณ์และพยากรณ์อากาศด้วยการนำปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาวิเคราะห์ด้วยเพื่อให้เกิดความแม่นยำและให้หน่วยงานบริหารจัดการน้ำนำไปใช้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำ

นายธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สิ้นสุดการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนของปี 2567 (1 พ.ค.-30 ต.ค.67) แล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำอย่างเต็มศักยภาพ มีการติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำท่า เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ควบคู่ไปกับการเก็บกัก เพื่อสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้งนี้ได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้เมื่อสิ้นสุดฤดูฝน ณ วันที่ 1 พ.ย.67 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 63,348 ล้าน ลบ.ม. (83% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้ 39,405 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าปีที่ผ่านมา 2,511 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 21,688 ล้าน ลบ.ม. (87% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้ 14,992 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าปีที่ผ่านมาถึง 3,907 ล้าน ลบ.ม. ภาพรวมสถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์ดี


ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 11พ.ย.67) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 63,606 ล้าน ลบ.ม. (83% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้ 39,663 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 21,933 ล้าน ลบ.ม. (88% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) เป็นน้ำใช้การได้ 15,237 ล้าน ลบ.ม.

กรมชลประทาน ได้วางแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้ง ระหว่างวันที่ 1 พ.ย.67-30 เม.ย.68 ตามปริมาณน้ำต้นทุน 44,250 ล้าน ลบ.ม. เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในทุกกิจกรรมตามลำดับความสำคัญ แบ่งเป็นน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ การเกษตร อุตสหกรรม และอื่นๆ รวมทั้งประเทศประมาณ 29,170 ล้าน ลบ.ม. และสำรองไว้ใช้ต้นฤดูฝนหน้า (พ.ค.-ส.ค.68) อีกประมาณ 15,080 ล้าน ลบ.ม. จนถึงขณะนี้ทั้งประเทศมีการจัดสรรน้ำไปแล้ว 909 ล้าน ลบ.ม.(4% จากแผนฯ) เฉพาะลุ่มเจ้าพระยาจัดสรรน้ำไปแล้ว 147 ล้าน ลบ.ม. (2% จากแผนจัดสรรน้ำรวม 9,000 ล้าน ลบ.ม.)

ด้านผลการเพาะปลูกพืชทั้งประเทศ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกไปแล้วรวม 2.7 แสนไร่ (3% จากแผนที่กำหนดไว้ 10.02 ล้านไร่) เฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยามีการเพาะปลูกแล้ว 2.4 แสนไร่ (4% จากแผนที่กำหนดไว้ 6.47 ล้านไร่) ซึ่งเป็นไปตามแผนที่กำหนด


สำหรับพื้นที่ภาคใต้ที่อยู่ในช่วงฤดูฝน กรมชลประทาน ได้เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมีการวางแผนจุดเสี่ยง/จุดเฝ้าระวัง ในพื้นที่ภาคใต้รวม 122 แห่ง และได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมเครื่องจักร-เครื่องมือในภาคใต้รวม 575 หน่วย แบ่งเป็น เครื่องสูบน้ำ 120 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 108 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 11 คัน และเครื่องจักรอื่นๆ อีกกว่า 336 หน่วย เข้าประจำพื้นที่เสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ให้สามารถนำไปใช้งานได้ทันทีเมื่อเกิดสถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด

สำหรับแนวทางบริหารจัดการในยุคปัจจุบันต้องรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยเช่น ในฤดูฝนที่ผ่านมา ฝนตกกระจุกในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน กรมชลประทานจึงติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สามารถรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรการรองรับฤดูแล้งปี 2567/68 ที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เห็นชอบ ด้วยการคาดการณ์และป้องกันพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ วางแผนจัดสรรน้ำและกำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง พร้อมบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญ การใช้น้ำตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน รวมไปถึงการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำตลอดในช่วงฤดูแล้ง เสริมความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำให้ชุมชน ตลอดจนประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงสถานการณ์น้ำให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง.-512 – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยไทยตอนบน อุณหภูมิขยับลงอีก 1-2 องศาฯ

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอากาศหนาวเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลงอีก 1 – 2 องศาฯ ยอดดอยและยอดภูหนาวจัด มีน้ำค้างแข็งบางแห่ง

ยิงพรานล่าหมูป่า

เพื่อนรับเป็นคนยิงนายพรานวัย 52 อ้างคิดว่าเป็นหมูป่า

เพื่อนเปิดปากรับสารภาพเป็นคนใช้อาวุธปืนยิงนายพรานวัย 52 ปี เสียชีวิตในสวนผลไม้ อ้างคิดว่าเป็นหมูป่า ยืนยันไม่ได้มีปัญหาหรือมีเรื่องกันมาก่อน

เติมน้ำมันไม่จ่าย

แท็กซี่เติมน้ำมันไม่จ่าย ซิ่งหนีพุ่งชนรถ 5 คันรวด

ตำรวจชัยภูมิ ไล่ล่าแท็กซี่เติมน้ำมัน แล้วซิ่งหนี ไม่จ่ายเงิน แถมยังขับพุ่งชนรถตำรวจ รถเก๋งและรถ 6 ล้อ รวม 5 คันรวด