16 สิงหาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ
บทสรุป:
- โปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด 19 ส่วนใหญ่จะอยู่ที่กล้ามเนื้อต้นแขนที่ฉีดยา
- โปรตีนหนามพบในกระแสเลือดน้อยมากและไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะภายใน
- งานวิจัยไม่พบส่วนประกอบของวัคซีนปนเปื้อนในน้ำนมแม่
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลเท็จเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศจอร์เจีย โดยอ้างว่าโปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด 19 เป็นอันตรายต่อร่างกายไม่ต่างจากโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 สามารถก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและภาวะข้อต่ออักเสบ โปรตีนหนามเหล่านี้จะไม่อยู่เฉพาะบริเวณที่ฉีดยา แต่จะเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย เข้าไปในเซลล์ไข่ทำให้ระบบสืบพันธุ์บกพร่อง และยังอยู่ในน้ำนมของแม่ที่ให้นมบุตรอีกด้วย
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
ข้ออ้างดังกล่าวมาจากความเห็นของ ไบแรม บรีเดิล นักวิทยาภูมิคุ้มกันชาวแคนาดา ที่ยกตัวอย่างผลการชันสูตรศพผู้ป่วยโควิด 19 จำนวน 13 ราย ซึ่งพบโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 ในสมองของผู้เสียชีวิต รวมถึงการฉีดโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 ในสัตว์ทดลอง ก็พบว่าสมองและปอดของสัตว์ทดลองถูกทำลายด้วยเช่นกัน
การตรวจสอบของ Myth Detector ระบุว่า ผลกระทบจากโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 และโปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด 19 ไม่อาจนำมาเทียบกันได้ด้วยเหตุผล 2 ประการ
1.ไม่มีการยืนยันปริมาณโปรตีนหนามที่ใช้ในสัตว์ทดลอง และผลกระทบกับสัตว์ทดลองจากโปรตีนหนามของไวรัสไม่อาจนำมาเทียบกับผลกระทบจากโปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด 19 ที่ฉีดในมนุษย์ได้
2.โปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด 19 ทำหน้าที่แตกต่างจากโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 เพราะโปรตีนหนามที่เกิดจากวัคซีนโควิด 19 เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ฉีดยา คือกล้ามเนื้อต้นแขนหรือต่อมน้ำเหลือง ปริมาณโปรตีนหนามจากวัคซีนที่พบในกระแสเลือดมีน้อยมาก และไม่มีหลักฐานว่าเป็นอันตรายต่อเส้นเลือดหรืออวัยวะภายในอื่นๆ
ส่วนข้ออ้างที่ว่าโปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด 19 ปะปนในน้ำนมมารดาก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน
มีการวิจัยกับแม่ที่ให้นมลูกหลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19 เป็นเวลา 4 ชั่วโมงถึง 48 ชั่วโมง ผลการวิจัยเบื้องต้นไม่พบว่ามีส่วนประกอบของวัคซีนอยู่ในน้ำนมแม่แต่อย่างใด
หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) แนะนำให้แม่ที่กำลังให้นมลูกควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เนื่องจากศึกษาพบว่าสารภูมิต้านทานจากแม่ที่รับวัคซีน สามารถส่งผ่านไปยังทารกผ่านทางน้ำนมได้ แม้ว่าประสิทธิผลป้องกันโรคโควิด 19 ในทารกที่ได้รับสารภูมิต้านทานในน้ำนมแม่ จะยังต้องการมีศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก็ตาม
ข้อมูลอ้างอิง:
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter