กรุงเทพฯ 15 ก.ค. – อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสั่งให้ทีมสัตวแพทย์สอบสวนโรคลัมปี สกินที่พบเชื้อในซากกระทิงของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ส่วนอธิบดีกรมปศุสัตว์สั่งเจ้าหน้าที่เข้าฉีดวัคซีนครอบคลุมพื้นที่ 5 กิโลเมตรจากชายขอบอุทยานแห่งชาติ
นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกล่าวว่า มอบหมายให้นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่านำทีมสัตวแพทย์สอบสวนโรคที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์เนื่องจากตรวจซากกระทิงพบสารพันธุกรรมของโรคลัมปี สกิน พร้อมกันนี้กำชับให้ทุกอุทยานแห่งชาติป้องกันการระบาดของโรคจากโค-กระบือของเกษตรกรไปติดสัตว์ป่าได้แก่ กระทิง วัวแดง และควายป่า
สำหรับปัจจัยที่อาจทำให้เกิดการลุกลากไปติดสัตว์ป่าได้แก่ การที่แมลงดูดเลือดที่เป็นพาหะบินไปกัดสัตว์ป่า ชาวบ้านนำโค-กระบือเข้าไปเลี้ยงในเขตอุทยาน สัตว์ป่าออกมาหากินนอกเขตอุทยาน เป็นต้น จึงจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยต่างๆ
ตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคลัมปี สกินได้สั่งการให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทุกแห่งเพิ่มความเข้มข้นในการลาดตระเวนเชิงคุณภาพเพื่อสังเกตพฤติกรรมและความผิดปกติของสัตว์ป่า หากพบสัตว์ป่าป่วย โดยมีตุ่มขนาดใหญ่ประมาณ 2-5 เซนติเมตร ขึ้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย พบมากที่คอ หัว เต้านม ถุงอัณฑะ และช่วงขา รวมทั้งมีอาการเดินผิดปกติ หรือพบสัตว์ป่าตายให้แจ้งสัตวแพทย์ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบหรือหน่วยงานใกล้เคียงเข้าตรวจสอบ พร้อมเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันสาเหตุของการป่วยหรือตาย รวมทั้งกำหนดแนวเขตกันชน ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าสู่พื้นที่ป่าอนุรักษ์และควบคุมไม่ให้มีการใช้พื้นที่ชายขอบป่าอนุรักษ์ในการเลี้ยงสัตว์ปศุสัตว์ ประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ร่วมกันเฝ้าระวังการป่วยหรือตายผิดปกติของสัตว์ป่า พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการต่อไป
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์ร่วมมือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชป้องกันโรคลัมปี สกินที่อาจระบาดเข้าไปติดสัตว์ป่า กรณีที่พบกระทิงของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ติดเชื้อลัมปี สกิน กรมปศุสัตว์ได้ตรวจสอบสถานการณ์โรคในพื้นที่ 5 กิโลเมตรจากชายขอบรัศมีอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ซึ่งพบว่ามีโค
จำนวน 2,234 ตัว จากเกษตรกร 209 ราย แสดงอาการป่วย ภ ตัว และได้ประสานกับอุทยานแห่งชาติกุยบุรีร่วมกันกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่เร่งด่วนซึ่งมี ๖ มาตรการดังนี้
- ระงับการเคลื่อนย้ายโค – กระบือ เข้าและออกในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค ซึ่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีการประกาศเป็นเขตโรคระบาดชนิดลัมปี สกิน และห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทั้งหมดแล้ว
- เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการควบคุมและกำจัดแมลงพาหะของโรคในพื้นที่เสี่ยง โดยการใช้ยาพ่นฆ่าแมลงในพื้นที่ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะและฉีดพ่นบนตัวโค-กระบือ เป็นต้น
- เร่งรัดการทำวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ พื้นที่ 5 กิโลเมตรจากชายขอบอุทยานทั้ง 2,234 ตัว
- ประชาสัมพันธ์เกษตรกรในพื้นที่ หากพบโคแสดงอาการให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อช่วย
รักษาพยาบาสสัตว์ป่วยและลดการแพร่เชื้อโรค - เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีต้องป้องกันไม่ให้สัตว์ป่า เช่น กระทิง วัวแดง ออกมาหากินในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงโค กระบือ รวมทั้งไม่ให้มีการนำโค3กระบือเข้าไปเลี้ยงในพื้นที่ที่กระทิงอยู่อาศัยโดยมีระยะแนวกัน ชนประมาณ 1 กิโลเมตร
- เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีพ่นยาฆ่าแมลงภายในยานพาหนะที่เข้า-ออกในพื้นที่ไม่ให้เป็นพาหะนำโรค
อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวต่อว่า ได้เร่งจัดสรรวัคซีนอีก 5 ล้านโดสไปทุกพื้นที่ตามหลักวิชาการ โดยมั่นใจว่า หลังฉีดวัคซีนครอบคลุม 80% ของประชากรสัตว์เสี่ยง โรคจะสงบใน 3 เดือน. – สำนักข่าวไทย