14 กรกฎาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Agencia Lupa (บราซิล)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ
บทสรุป:
- ยาต้านไวรัสโควิด 19 ที่ Pfizer กำลังทดลอง มีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัสโควิด 19
- คุณสมบัติไม่เหมือนกับ Hydroxychloroquine ที่เป็นยารักษาโรคมาลาเรียและยากดภูมิคุ้มกัน
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง WhatsApp ในประเทศบราซิล โดยอ้างว่า Pfizer หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตวัคซีนโควิด 19 เตรียมจำหน่ายยาต้านไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัสแบบเดียวกับ Hydroxychloroquine แม้ Hydroxychloroquine จะไม่เป็นที่ยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในฐานะยารักษาโรคโควิด 19 แต่มันกำลังจะเป็นที่ยอมรับเมื่อถูกจำหน่ายโดยบริษัทยายักษ์ใหญ่ และ Pfizer ก็จะทำเงินมหาศาลจากการขายยา Hydroxychloroquine รูปแบบใหม่ในราคาที่แพงกว่าเดิม
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
การตรวจสอบโดย Agencia Lupa พบว่าบริษัท Pfizer เริ่มทดลองยาต้านไวรัสโควิด 19 ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีชื่อในการทดลองว่า PF-07321332 มีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัสเพื่อป้องกันแบ่งตัวของไวรัสโควิด 19
อย่างไรก็ดี PF-07321332 ไม่ได้มีคุณสมบัติเหมือนกับยา Hydroxychloroquine ตามที่กล่าวอ้าง
Hydroxychloroquine คือยารักษาโรคมาลาเรียและใช้กดภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
อันนา พอลล่า เฮอร์มันน์ ศาสตราจารย์และนักวิจัยประจำภาควิชาเภสัชวิทยา มหาวิทยาลัย Federal University of Rio Grande do Sul อธิบายความแตกต่างของยาสองชนิดว่า PF-07321332 ของ Pfizer มีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัสโควิด 19 โดยเฉพาะ แต่ Hydroxychloroquine จะส่งผลกับเซลล์ เวสิเคิล ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ที่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ และไม่มีคุณสมบัติเจาะจงต่อไวรัสโควิด 19 เหมือนยาของ Pfizer
วารสารการแพทย์ Journal ได้ตีพิมพ์ผลการทดลองยารักษาโควิด 19 เมื่อปี 2020 ซึ่งการทดสอบในหลอดทดลองพบว่า Hydroxychloroquine สามารถป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ แต่ผลวิจัยสรุปว่าหลักฐานยังไม่เพียงพอว่า Hydroxychloroquine สามารถรักษาโรคโควิด 19 ได้หรือไม่ กระทั่งการทดลองทางคลินิกพบว่าตัวยาไม่สามารถรักษาโรคโควิด 19 ได้ เช่นเดียวกับการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ชนิดโลปินาเวียร์ก็ไม่มีผลต่อการรักษาโควิด 19 ได้เช่นกัน
ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดไหนที่รักษาโรคโควิด 19ได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่านอกจาก Hydroxychloroquine จะไม่มีผลในการรักษาโควิด 19 แล้ว ยังอาจทำให้ผู้ป่วยโควิด 19 เกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาอีกด้วย
ข้อมูลของบริษัท Pfizer ระบุว่า การทดสอบในหลอดทดลองพบว่ายา PF-07321332 สามารถยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัสโควิด 19 และไวรัสโคโรนาชนิดอื่นๆ และมีโอกาสที่จะใช้รักษาโรคโควิด 19 ได้ ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 กับกลุ่มอาสาสมัครที่เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลและอาสาสมัครที่มีสุขภาพปกติ
ข้อมูลอ้างอิง:
https://piaui.folha.uol.com.br/lupa/2021/05/06/antiviral-pfizer-hidroxicloroquina/
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter