กรุงเทพฯ 15 ต.ค. หัวเว้ยเชื่อชุมนุมการเมืองไม่กระทบอุตฯโทรคมนาคม แนะไทยขับเคลื่อน 3 ด้าน สู่ดิจิทัลฮับอาเซียน
นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง หัวเว่ยยังมั่นใจว่าธุรกิจของบริษัทและธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมจะไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน จากจุดยืนที่ชัดเจนของรัฐบาลโดยคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงกลาโหมเป็นประธานนั้น ต้องการเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5G เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาค และจากการที่รัฐบาลมีความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ด้วยการนำประโยชน์ของเทคโนโลยี คลาวด์ และเอไอ มาใช้ประโยชน์ จึงมั่นใจว่าประเทศจะเข้าสู่ดิจิทัล ฮับ ได้อย่างแน่นอน
“ตามหลักภูมิศาสตร์ ประเทศไทยตั้งอยู่ตรงกลางภูมิภาคอาเซียน บวกกับมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ทั้ง 3G, 4G และ 5G แล้ว ยังต้องมีความร่วมมือการทำงานกับหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคอุตสาหกรรม หากทำได้ประเทศไทยจะเป็นดิจิทัล ฮับ ได้ไม่ยาก เมื่อนั้น ธุรกิจโอทีทีจะย้ายฐานมาที่ประเทศ“ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวเว่ย กล่าว
หัวเว่ยขอเสนอแนะ แนวทางขับเคลื่อนประเทศไทยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านเป็นดิจิทัล 3 แนวทางคือ การมีนโยบายสนับสนุนประเทศให้เปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นดิจิทับ อิโคโนมีโดยใช้มาตรการทางการคลังและภาษี , นำเอาเทคโนโลยี5G มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้มากขึ้น ด้วยการสนับสนุน ให้มีศูนย์ส่งเสริมการใช้ 5G หรือ 5G อินโนเวทีฟ เซ็นเตอร์ ที่ผ่านมาหัวเว่ยได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ในการตั้งศูนย์ขึ้น และการพัฒนาทักษะดิจิทัลด้าน 5G โดยเฉพาะเรื่องคลาวด์ และปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ควรมีการจัด 5G อินโนเวทีฟ โปรแกรม การแข่งขัน รวมถึงการเฟ้นหาบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะด้าน
นายเติ้ง กล่าวอีกว่า ปัจจุบันดิจิทัล อีโคโนมี่ ของประเทศไทย สามารถสร้างรายได้คิดเป็นร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ของไทย คาดว่าในปี 2573 ประเทศไทยจะเพิ่มเป็นร้อยละ 30 มีแนวโน้มจะเติบโตเฉลี่ยปีร้อยลฝละ 30 ต่อปี สำหรับเทคโนโลยีที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจากนี้ ประกอบด้วย 5 เทคโนโลยี คือ 5G, เอไอ, คลาวด์, เอดจ์ คอมพิวติ้งและแอปพลิเคชัน ประเทศไทยเดินหน้ารูปแบบการทำงานที่ใช้เทคโนโลยี 5G หลายด้านแล้ว เช่น การทำงานกับโรงพยาบาลศิริราช การทำโครงการโรงพยาบาลอัจฉริยะ เกษตรดิจิทัลกับมหาวิทยาลัยวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นำโดยนาฐากร ตัณฑสิทธิ์ อดีตเลขาธิการ กสทช. ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อรองรับ 5G ได้แก่ คลื่นความถี่ย่าน 700, 1800, 2600 เมกะเฮิรตซ์ และ 26 กิกะเฮิรตซ์ ทำให้ประเทศไทยเปิดให้บริการ 5G ก่อนประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้มีโครงสร้างพื้นฐาน 5G ที่แข็งแกร่งก่อนใคร ในขณะที่ หัวเว่ยก็จะลงทุนในประเทศไทยต่อเนื่อง
ขอย้ำประเทศไทยถือเป็นตลาดที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับหัวเว่ย และเป็นตลาดเดียวที่บริษัทนำเสนอครบทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ Carrier การให้บริการเครือข่าย 4G, Enterprise การให้บริการหน่วยงานต่างๆ, Consumers การมีสินค่ารุกตลาดคอนซูเมอร์ และ cloud & AI เพื่อให้สามารถส่งมอบอีโคซิสเต็มที่สมบูรณ์ ครอบคลุมเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างรอบด้าน และช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ของไทยไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมอัจฉริยะได้อย่างรวดเร็วขึ้น-สำนักข่าวไทย.