กรุงเทพฯ 8 ต.ค 63 – ไลน์ ชี้โควิด-19 เปลี่ยนโลกจากโกบอลไลเซชั่น สู่โลกไม่รวมศูนย์ ชู 3 แนวโน้มใหม่เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มแห่งอนาคต
นายนรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ ไลน์ประเทศไทย กล่าวว่า เทรนด์ใหญ่ระดับโลกที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น การเชื่อมต่อความเร็วสูง 5G การใช้จ่ายเงินดิจิทัล สงครามการค้าระหว่างประเทศ ถูกกระทบด้วยการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทุกธุรกิจต้องเรียนรู้และเร่งปรับตัว
วิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่พลิกโฉมธุรกิจทั่วโลกครั้งใหญ่ไปโดยสิ้นเชิง ทุกภาคส่วนต่างเร่งรับมือกับโจทย์ใหญ่ คือการก้าวขึ้นสู่โลกออนไลน์อย่างรวดเร็ว โดยไม่ได้มีสูตรสำเร็จในการใช้ดิจิทัลรับมือวิกฤตครั้งนี้มาก่อน เราจึงมองว่าการทำธุรกิจแบบไม่รวมศูนย์กลาง (Decentralization) ที่ให้ความสำคัญกับภาคส่วนย่อยมากขึ้น สามารถสอดรับการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันนี้ได้เป็นอย่างดี
ควบคู่กับเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดในปัจจุบัน ทำให้แต่ละภาคธุรกิจต้องนิยามการเติบโตในธุรกิจใหม่ เพื่อความอยู่รอดและก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอีกครั้งหลังวิกฤตครั้งใหญ่นี้ แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไประหว่างช่วงโควิด-19 มี 4 ประเด็น คือ Basket – ผู้บริโภคมีแนวโน้มเลือกซื้อสินค้าในปริมาณน้อยลง Homebody – ผู้บริโภคนิยมหันมาดำเนินกิจกรรมที่บ้านมากขึ้น Rational – ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงถึงเหตุผลมากขึ้น และ Affordability – ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงปัจจัยด้านราคามากขึ้น
ผู้บริโภคกับพฤติกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงจากข้อมูลเชิงสถิติบนแพลตฟอร์มไลน์ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคมากมายหลายด้าน และมีจำนวนผู้บริโภคที่นิยมชื่นชอบพฤติกรรมเหล่านี้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ในสังคมไทย เราเรียกแนวโน้มนี้ว่า “New Human” หรือผู้บริโภคกับพฤติกรรมใหม่ ตัวอย่างเทรนด์นี้ที่เห็นได้ชัดคือกระแสซีรีส์วายพลิกจากความชอบเฉพาะกลุ่มสู่พฤติกรรมกระแสหลักของผู้ชมชาวไทยก่อนจุดติดเป็นกระแสซีรีส์วายฟีเวอร์ทั่วเอเชีย สร้างกลุ่มแฟนตัวจริงที่พร้อมสนับสนุนนักแสดงซีรีส์วายในดวงใจ
ก่อให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ Y-Economy ด้วยการใช้ศิลปิน นักแสดงเป็นกลไกนำไปสู่ความจงรักภักดีต่อแบรนด์และการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากข้อมูลผลสำรวจโดยไลน์ประเทศไทยยังพบว่าร้อยละ 80 ของผู้ชมซีรีส์วายชาวไทยคือเกือบ 20 ล้านคนนิยมดูซีรีส์วายผ่านช่องทางไลน์ทีวีเป็นหลักบรรทัดฐานใหม่ในการเก็บข้อมูลไม่พึ่งพาคนกลาง
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา จนเกิดเป็นบรรทัดฐานใหม่ของการเก็บข้อมูลหรือ “New Rule” ที่อาจส่งผลต่อทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งในฝั่งแพลตฟอร์มและฝั่งแบรนด์การเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้า (First-party data) จึงเป็นทางออกที่ทุกกลุ่มธุรกิจควรให้ความสำคัญ และควรเริ่มเตรียมตัว ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ วิธีดำเนินธุรกิจให้สอดคล้อง รองรับมาตรการเหล่านี้ให้ทันท่วงที ไลน์เห็นความสำคัญของ First-party data และเปิดให้แบรนด์สามารถเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้า ผู้ใช้งานด้วยโซลูชันและเครื่องมือบนแพลตฟอร์มไลน์มานานเกือบ 3 ปีผ่าน LINE Business Connect for CRM (BCRM) ที่ช่วยบริการจัดการฐานข้อมูลลูกค้าบน LINE Official Account และ Mission Stickers สติกเกอร์ที่ผู้ใช้งานจะได้รับเมื่อทำภารกิจตามที่แบรนด์กำหนด เช่น การเพิ่มเพื่อนบน ไลน์การตอบแบบสอบถาม เป็นต้น ซึ่งทั้งสองเครื่องมือ สามารถช่วยให้แบรนด์ได้รับข้อมูลโดยตรงจากลูกค้าได้อย่างถูกต้อง โปร่งใส ในจำนวนมหาศาลภายในเวลาอันรวดเร็วถึงนับล้านโปรไฟล์ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาไลน์ มีฐานข้อมูลสะสมที่ได้รับโดยตรงจากผู้ใช้งานมากกว่า 300 ล้านโปรไฟล์รวมจากทุกแบรนด์ที่ใช้บริการ ไลน์ยังคงมุ่งเน้นให้ความสำคัญของการเก็บและใช้ประโยชน์ของดาต้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการประกาศเปิดตัวโซลูชันใหม่ล่าสุด MyCustomer ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผ่านไลน์โอเอให้กับแบรนด์ได้ดีและลึกยิ่งขึ้น ยกระดับระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าแบบครบวงจรหรือCRM (Customer relationship management) บนไลน์ในแบบเดิมๆ สู่การเป็น CDP – Customer Data Platform หรือแพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูลลูกค้าแบบใหม่ ซึ่งมีแผนจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการปีหน้าอิทธิพลและพลังของเอเชียเหนือทั่วโลก
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเอเชียได้ก้าวเข้ามาเป็นขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ของโลก เฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มูลค่าการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ใน 3 ไตรมาสแรกมีมูลค่ารวมกว่า 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ1 มากกว่าทวีปอเมริกาเหนือกว่า 3 เท่า ส่งให้เอเชียกลายเป็น “New Power” ที่อิทธิพลและพลังเหนือภูมิภาคอื่นทั่วโลก โดยหากวัดเฉพาะผู้บริโภคของไทย ประเทศไทยขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกในด้านการช้อปปิ้งผ่านโซเชียลมีเดียมาตั้งแต่ปี 25592 โดยเฉพาะ Chat Commerce ซึ่งมีผลสำรวจเผยว่า เป็นช่องทางการซื้อขายรูปแบบ E-Commerce ที่ดีที่สุดสำหรับเอสเอ็มอีไทย หากวัดจากผลตอบแทนจากการลงทุนหรือ ROI – Return on Investment3 จึงอาจกล่าวได้ว่า Chat Commerce คือช่องทางที่ดีที่สุดสำหรับการขายสินค้าแบบ E-Commerce ที่เหมาะและตอบโจทย์ความต้องการของคนไทยได้อย่างลงตัวไลน์จึงได้เปิดให้บริการ MyShop เครื่องมือที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพไลน์โอเอด้านการขายของ ด้วยระบบหน้าร้านออนไลน์ ระบบจัดการสต๊อกสินค้า เป็นต้น ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยพบว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของ MyShop มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดถึง 17 เท่านับตั้งแต่เปิดให้บริการมาจากความสำเร็จนี้ไลน์ได้เดินหน้าแนะนำเครื่องมือและโซลูชันใหม่ๆ เพื่อการเติบโตของทุกธุรกิจไทยภายใต้
ความเปลี่ยนแปลงสู่ยุคที่ไม่รวมศูนย์กลาง ออกมาอีกมากมาย ซึ่งล้วนเป็นโซลูชันที่ออกแบบมาเพื่อผู้บริโภคไทย และภาคธุรกิจไทยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น MyRestaurant โซลูชันสำหรับจัดการบริการต่างๆ ด้านธุรกิจอาหารบนไลน์โอเอภายใต้ความร่วมมือจากไลน์แมนวงในช่วยดูแลธุรกิจอาหารตั้งแต่บนโลกออนไลน์ถึงหน้าร้านและบริการจัดส่งอย่างครบวงจร Event Stickers สติกเกอร์รูปแบบใหม่ที่แบรนด์สามารถกำหนดยอดดาวน์โหลดได้เองเพื่อควบคุมงบประมาณได้ตามต้องการ เป็นการขยายฐานให้กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงโซลูชันนี้ในการทำธุรกิจได้มากขึ้น เช่น การแจกสติกเกอร์ให้กับผู้ร่วมงานอีเวนท์ตามจำนวนที่กำหนด การแจกสติกเกอร์สำหรับลูกค้าที่ได้ซื้อสินค้าที่กำหนดไว้ในจำนวนจำกัดเท่านั้น เป็นต้น ซึ่งพร้อมเปิดให้แบรนด์สามารถใช้งานโซลูชันนี้ได้แล้ววันนี้! และอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญคือการเปิดตัวไลน์โอเอสโตร์ ที่รวมเครื่องมือและโซลูชันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ ไลน์โอเอ ทั้งที่พัฒนาจากไลน์เอง และจากองค์กรนักพัฒนาภายนอก รวมไว้ในที่เดียว ซึ่งนอกจากจะมีช่องทางหลักให้ธุรกิจสามารถเลือกใช้เครื่องมือ โซลูชันได้ตามจุดประสงค์ ความต้องการแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมศักยภาพของนักพัฒนาไทย ให้มีตลาดในการนำเสนอผลงานทางด้านเทคโนโลยีสำหรับภาคธุรกิจได้อย่างจริงจัง โดยมีแผนเปิดให้ใช้งานภายในสิ้นปีนี้เช่นเดียวกับ MyRestaurant
“ธุรกิจไทยยังมีความท้าทายข้างหน้ารออยู่ในโลกหลังโควิด-19 โดยไลน์พร้อมที่จะนำเสนอโซลูชันใหม่ๆ เพื่อพลิกนิยามของการเติบโตทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ให้แก่ทั้งแบรนด์ นักการตลาด และเอสเอ็มอี ตลอดจนยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้ให้สะดวกสบายขึ้นไปอีกขั้น กระแสตอบกลับต่อเหตุการณ์ครั้งใหญ่ของโลกแบบเฉพาะตัวอันแตกต่างไปตามแต่ละท้องที่หรือ Decentralization ได้สร้างโอกาสการเติบโตของธุรกิจไทยโดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ตามอีกต่อไป” -สำนักข่าวไทย.