ศธ.14ก.ย.- 3 กระทรวงหลัก สาธารณสุข ศึกษา และพม. ร่วมลงนาม ป้องกันและแก้ปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและให้โอกาสได้ศึกษาในระบบอย่างเหมาะสม หลังพบเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาจำนวนมาก เมื่อตั้งครรภ์ในวัยเรียน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการประกอบอาชีพในอนาคต
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายสากล ม่วงศิริ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการให้โอกาสเด็กและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ในสถานศึกษาได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม พร้อมแถลงนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ที่กระทรวงศึกษาธิการ
เนื่องจากปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงเล็งเห็นและให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหา จึงได้ออกพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29กรกฏาคม 2559 เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้อง และให้ความรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย กรณีที่เกิดการตั้งครรภ์จะต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพและสวัสดิการสังคม โดยมี 3 หน่วยงานหลัก คือ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกันแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง และบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการให้โอกาสเด็กและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ในสถานศึกษาได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นายอนุทิน กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้แก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยการร่วมมือกันของ3กระทรวง ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ให้ความปลอดภัย และการรักษาพยาบาล ส่วนทางด้านการศึกษา การลดความเหลื่อมล้ำ เป็นเรื่องของกระทรวงศึกษาธิการ การดูแลเยียวจิตใจ พัฒนาสภาพจิตใจ เป็นเรื่องของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สิ่งที่ต้องการคือการให้โอกาสเด็กและวัยรุ่น ในการใช้ชีวิตอย่างปกติ และไม่กระทบต่อทารกในครรภ์ ในการเติบโตอย่างมีคุณภาพ
ทั้งนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาสถานการณตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลทำให้เสียโอกาสทางการศึกษา การประกอบอาชีพ และการหารายได้เลี้ยงชีพในอนาคต บางส่วนอาจถึงขั้นยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย เพื่อเป็นการแก้ไข จึงเกิดเป็น พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 หลับจากนั้นทำให้มีแนวโน้มลดลง แต่ยังพบว่ามีวัยรุ่นบางส่วน ยังเข้าไม่ถึงสิทธิทางกฏหมาย สธ.จึงดำเนินการให้กรมอนามัยช่วยเหลือ ดูแล คุ้มครองวัยรุ่นที่ประสงคคั้งครรภ์ต่อ ให้บริการฝากครรภ์ ส่วนกรณีตั้งครรภ์ที่กระทบกระเทือนต่อสภาพจิตใจของมารดา หากต้องยุติการตั้งครรภ์ จะมีแพทย์ให้คำปรึกษาและสามารถให้วัยรุ่นตัดสินใจเองได้และสามารถยุติตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย
ส่วนสถิติของกรมอานามัย ในการสำรวจ เด็กและเยาวชนช่วง อายุ15-19ปี ในการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ระหว่าง ปี2554-2555 พบ 53.5 ต่อ 1,000 คน และล่าสุด ปี 2563 ลดลงครึ่งหนึ่ง เหลือจำนวน 27 ต่อ 1,000 คน
นายณัฏฐพล กล่าวว่า การบันทึกข้อตกลงใน3 กระทรวงหลัก เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาเด็กเยาวชนต่อเนื่อง พบมีการตั้งครรภ์น้อยลงตามลำดับ แต่มีหลุดออกจากระบบการศึกษาพอสมควร จึงสมควรสร้างกลไกลในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อให้โอกาสเด็กได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม ในส่วนของศธ.เน้นการสร้างความเข้มแข็งในสถานศึกษา จัดการเรียนเพศวิถีตามวัย เพื่อให้เกิดกสรบูรณาการ ทำให้การตั้งครรภ์ในวัยเรียนลดลง ศธ.มีนโยบายชัดเจนว่าให้เด็กตั้งครรภ์ไม่พร้อมสามารถเรียนได้ตามปกติ โดยมีการจัดการเรียนที่เหมาะสม ซึ่งการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาของสังคมในทุกประเทศ หากสามารถให้ความรู้อย่างต่อเนื่องและทันสมัย น่าจะทำให้ปัญหาต่างๆลดความรุนแรงและลดจำนวนลง หากยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวันรุ่นได้ ต้องมีการเข้าสู่กระบวนการดูแล เพราะเยาวชนคืออนาคตของประเทศ การร่วมมือกันของทั้ง3 กระทรวง รวมถึงกระทรวงมหาดไทยในการแชร์ข้อมูล รายชื่อ จำนวน ที่อยู่ที่ชัดเจน ของเยาวชนที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม เพื่อร่วมกันช่วยเหลือและแก้ไข รวมถึงภาคเอกชน และภาคประชาชน จะทำให้การตั้งครรภ์ในสถานศึกษาลดน้อยลง ทั้งนี้ยอมรับ ไม่สนับสนุนการตั้งครรภ์ในวัยเรียน แต่เมื่อเกิดปัญหา ต้องได้รับการดูแล เมื่อเด็กและเยาวชนประสบปัญหาทางครอบครัว ต้องช่วยเหลือ ถือว่าเป็นโอกาสที่จะมีการปรับหลักสูตรตรงสภาพความเป็นจริง หากมีหลักสูตรเพศศึกษาที่เข้มข้นจะสามารถป้องกันเรื่องเหล่านี้ได้ หากมีการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างเข้มข้นจะทำให้คนเข้าใจมากขึ้น ไม่ใช่การส่งเสริมที่จะให้ตั้งครรภ์มากขึ้น
นายสากล กล่าวว่า กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีการจัดสวัสดิการให้เด็กและวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ในการดูแลให้ความช่วยเหลือ ในการฝึกอาชีพทั้งก่อนและหลังคลอด ให้สามารถดูแลตัวเองและลูกที่เกิดมาได้ หากลูกที่เกิดมาไม่สามารถเล้ยงได้ จะดำเนินการหาครอบครัวในการเลี้ยงให้ สร้างเครือข่ายเด็กและเยววชนเพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ประสานงานเฝ้าระวัง จัดให้มีระบบดูแลช่วยเหลือให้ได้รับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์อย่างเหมาะสม การศึกษาตามความต้องการและสามารถเลี้ยงดูบุตรได้ การให้โอกาสได้เรียนต่อเพพื่อเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้ประกอบอาชีพและเลี้ยงลูกได้ในอนาคต.-สำนักข่าวไทย