รพ.จุฬาฯเจ๋ง ‘ก้าวแรกสู่ความสำเร็จ รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยเซลล์นักฆ่า’

รพ.จุฬาฯ 23เม.ย.-คณะเเพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม รพ.จุฬาฯ เเถลงความ สำเร็จ” ก้าวเเรกสู่ความสำเร็จ การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยเซลล์นักฆ่า”หลังวิจัยเพื่อรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ปัจจุบันเริ่มรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีความเสี่ยงสูงด้วยเซลล์นักฆ่าเเล้ว 5 คน


นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นประธานเเถลงข่าว “ก้าวเเรกสู่ความสำเร็จ การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยเซลล์นักฆ่า”ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จัดขึ้น เพื่อเเจ้งความสำเร็จก้าวเเรกเเละให้ความรู้กับประชาชนว่าเซลล์บำบัดด้วยเซลล์นักฆ่าคืออะไร สามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งชนิดใดบ้างและมีข้อจำกัดหรือข้อควรระวังใด หลังได้ร่วมกันวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ที่จะช่วยให้การเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพแก่ของผู้ป่วยมะเร็งชาวไทย เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในไทย ตั้งแต่ปี2542 จนถึงปัจจุบัน


นพ.กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์ หัวหน้ากลุ่มวิจัยเซลล์บำบัดมะเร็ง คณะแพทย ศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าโครงการวิจัยและพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีความเสี่ยงสูงด้วยเซลล์นักฆ่า เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2557 ซึ่ง Natural Killer cell หรือเซลล์นักฆ่า เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ไหล เวียนอยู่ในร่างกาย ซึ่งเซลล์ชนิดนี้เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวส่วนน้อยของเม็ดเลือดขาวทั้งหมดโดยจะมีอยู่ประมาณ ร้อยละ 5-10 ของเม็ดเลือดขาวที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย โดยทั่วไปเซลล์นักฆ่าจะมีหน้าที่หลักคือการลาด ตระเวนและตรวจตราหาเซลล์แปลกปลอม เซลล์ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือเซลล์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจนอาจก่อให้เกิดอันตราย ภายในร่างกาย เมื่อเซลล์นักฆ่าตรวจสอบพบเซลล์ที่มีความเปลี่ยนแปลงหรือกลายพันธุ์ไปซึ่งมักเกิดจากจากการติดเชื้อหรือกระบวนการเปลี่ยน แปลงไปสู่การเป็นเซลล์มะเร็งนั้น เซลล์นักฆ่าจะทำลายเซลล์ผิดปกติดังกล่าวก่อนที่เซลล์เหล่านั้นจะก่อให้ เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือพัฒนาไปสู่การเป็นโรคมะเร็ง


สำหรับความสามารถพิเศษของเซลล์นักฆ่าที่สามารถทำลายเซลล์แปลก ปลอมและเซลล์ที่ผิดปกติได้โดยไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้แบบเม็ดเลือดขาวชนิดอื่น ๆ จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์เกิดความสนใจและพยายามศึกษาวิจัยในการนำเซลล์นักฆ่ามาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าเราสามารถกระตุ้นและเพิ่มจำนวนเซลล์นักฆ่าภายนอกร่างกายได้ และเซลล์นักฆ่าที่ถูกกระตุ้นและเพิ่มจำนวนภายนอกร่างกายนั้นมีประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในมะเร็งหลายๆ ชนิด ทั้งมะเร็งก้อนและมะเร็งทางโลหิตวิทยา ทั้งในการศึกษาระดับหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง การค้นพบดังกล่าวจึงทำให้เริ่มมีการศึกษาวิจัยการรักษามะเร็งด้วยเซลล์นักฆ่าในผู้ป่วยมะเร็งที่มีโรคกลับเป็นซ้ำหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน เนื่องจากโดยปกติเซลล์นักฆ่ามีจำนวนน้อยมากในเลือด การจะนำเซลล์นักฆ่ามาใช้ในรักษาผู้ป่วยนั้น จำเป็นจะต้องนำเซลล์นักฆ่าออกมากระตุ้นและเพิ่มจำนวนเสียก่อน 

อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัยการรักษาโรคมะเร็งด้วยเซลล์นักฆ่าในระดับการวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีโรคกลับเป็นซ้ำหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐานนั้น กลับพบว่าประสิทธิภาพของการรักษามะเร็งด้วยเซลล์นักฆ่าในกลุ่มโรคมะเร็งก้อนทั้งหมดนั้นยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่พบว่าการรักษามะเร็งด้วยเซลล์นักฆ่านั้นมีประสิทธิ ภาพสูงในการควบคุมโรคและป้องกันโรคกลับเป็นซ้ำในมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ โดยเฉพาะการใช้เซลล์นักฆ่าจาก พ่อแม่ พี่น้อง หรือลูกที่มีสารพันธุกรรมตรงกันเพียงครึ่งเดียว

ขณะเดียวกันในปี2561 ศูนย์ภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง และ สาขาโลหิตวิทยา ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เริ่มโครงการนำร่องเพื่อศึกษาการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีความเสี่ยงสูงด้วยเซลล์นักฆ่าเพื่อประเมินความพร้อมของบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยา ศาสตร์ผู้มีหน้าที่ผลิตเซลล์ ทีมแพทย์และพยาบาล ความพร้อมของห้อง ปฏิบัติการและเทคโนโลยีสำหรับการเตรียมผลิตเซลล์ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย เพื่อรองรับการให้บริการแก่ผู้ป่วยชาวไทย และเพื่อประเมินความปลอดภัยของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชาวไทยด้วยเซลล์นักฆ่าจากผู้บริจาค

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยร่วมโครงการ 5 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ที่มีความเสี่ยงสูง โดยผู้ป่วยทั้ง 5 รายในโครงการนี้ ได้รับการรักษาด้วยเซลล์นักฆ่าจากผู้บริจาคทั้งหมด ซึ่งนักวิจัยประสบความสำเร็จในการกระตุ้นและเพิ่มจำนวนเซลล์นักฆ่าจากผู้บริจาค ให้มีปริมาณและคุณภาพที่ได้มาตรฐานสำหรับการใช้เซลล์จริงในผู้ป่วย ได้แก่ 1) สามารถเพิ่มจำนวนเซลล์นักฆ่าขึ้นมาได้ในระดับที่เพียงพอสำหรับการใช้ในผู้ป่วย 2) เซลล์นักฆ่าที่ได้ไม่มีเซลล์อื่นๆ ปนเปื้อนเกินมาตรฐาน 3) ตัวอย่างทั้งหมดสามารถผ่านมาตรฐานการตรวจควบคุมคุณภาพสำหรับเซลล์ที่จะนำไปใช้ในผู้ป่วย ทั้งในด้าน จำนวนเซลล์ สัดส่วนเซลล์มีชีวิต ความสามารถในการทำลายเซลล์มะเร็ง การไม่พบจุลชีพปนเปื้อน และ ไม่พบการปลอมปนของ endotoxin (พิษจากเชื้อแบคทีเรีย) 

ขณะที่ในปี 2562 นี้ ทางโครงการมีความตั้งใจจะเริ่มดำเนินโครงการต่อเนื่องเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีความเสี่ยงสูงด้วยเซลล์นักฆ่าในลำดับต่อไป .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สาวซิ่งรถหรูชน 3 แม่ลูกเสียชีวิต เข้ามอบตัว

สาวขับรถหรู ชน 3 แม่ลูกเสียชีวิตที่ชุมพร เข้ามอบตัวกับตำรวจแล้ว อ้างยืมรถเพื่อนมาขับ ศาลให้ประกันตัววงเงิน 1 แสนบาท

สงขลาประกาศเขตภัยพิบัติแล้วทุกอำเภอ เร่งช่วยน้ำท่วมวิกฤติ

ผู้ว่าฯ สงขลา ลงนามประกาศให้ทั้ง 16 อำเภอ เป็นเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินอุทกภัยและวาตภัย เพื่อเร่งรัดให้ความช่วยเหลือประชาชน บรรเทาความเดือดร้อน โดย อ.จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย ยังมีระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้น

ข่าวแนะนำ

นายกฯ สั่งระดมช่วยน้ำท่วมใต้-เร่งเยียวยา

นายกฯ สั่งระดมช่วยเหลือน้ำท่วมใต้-เร่งมาตรการเยียวยา เผย ครม.เห็นชอบ 39 โครงการฟื้นฟูพื้นที่อุทกภัย เชียงใหม่-เชียงราย 641 ล้านบาท

เตรียมรื้อถอนคานถล่ม ถ.พระราม 2-กู้ร่างผู้สูญหาย

ช่วงบ่ายนี้ (29 พ.ย.) จนท.กรมทางหลวง สภาวิศวกรรมสถาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมนำรถเครนรื้อถอนเหล็กถักที่ถล่มบน ถ.พระราม 2 โดย ปภ.สมุทรสาคร ไม่มั่นใจว่าการดำเนินการจะจบภายในวันเสาร์-อาทิตย์นี้หรือไม่

คานถล่มพระราม2

ตร.ทางหลวง แนะเลี่ยงถนนพระราม 2 หลังการจราจรเข้าขั้นวิกฤต

ตำรวจทางหลวง เผยการจราจรถนนพระราม 2 เข้าขั้นวิกฤต แนะเส้นทางเลี่ยงทั้งขาเข้าและขาออกกรุงเทพมหานคร ยังไม่ชัดเปิดการจราจรได้ตามปกติเมื่อใด

คานถล่มพระราม2

“สุริยะ” สั่งผู้รับเหมาหยุดก่อสร้าง ถ.พระราม 2 ตัดสิทธิรับงาน 2 ปี

“สุริยะ” รมว.คมนาคม เผยเย็นวันนี้เตรียมกลับไปตรวจสอบสาเหตุคานเหล็กก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ถล่ม สั่งการผู้รับเหมาหยุดก่อสร้าง รวมทั้งตัดสิทธิรับงาน 2 ปี และขอให้เพิ่มความเข้มงวดมาตรการลดชั้นผู้รับเหมา เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุ