อาคารเฉลิมพระบารมี 14 ม.ค.- สมาคมรพ.เอกชน แจง รพ.เอกชน เป็นบริการทางเลือก ค่ายาของรพ.เอกชน เป็นการจ่ายตามต้นทุน และประชาชนทุกคนมีสิทธิ์รักษา 3 สิทธิ์ อยู่แล้ว ที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย แนะควรเลือกตามเศรษฐฐานะ
นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช นายกสมาคมรพ.เอกชน นำคณะกรรมการสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ชี้แจงค่ารักษาพยาบาล และค่ายา ในรพ.เอกชน จากกรณี กรมการค้าภายใน เตรียมประกาศให้ค่ายา-เวชภัณฑ์ และค่ารักษาพยาบาลรพ.เอกชน เป็นสินค้าควบคุมว่า เรื่องนี้ต้องขอทำความเข้าใจกับ ประชาชน ในส่วน ของค่ายาในโรงพยาบาลเอกชน ที่แตกต่างจากร้านยา เพราะมีระบบการจัดเก็บ ที่ต้องอาศัยการควบคุม อุณหภูมิ คุณภาพ มีเภสัขกรดูแล ทุกอย่างจึงล้วนมีต้นทุน มีค่าอัตราเงินเดือนเภสัชกร และการจ่ายยา ต้องมีคุณภาพ เภสัชกรต้องคำนวณการรับยา ชนิดนี้ จะไม่ตีกันกับยาชนิดอื่น หรือส่งผลข้างเคียงกับคนไข้ ต่างกับร้านขายยาทั่วไป ที่ไม่ต้องรับผิดชอบ เรื่องอาการข้างเคียงจากยาตีกัน และไม่สามารถติดตามได้ว่า คนไข้รับยาอะไรไปบ้าง เพราะไม่มีระบบ หรือ ฐานข้อมูลว่า คนไข้รายนี้รับยาอะไร ทุกอย่างล้วนมีต้นทุน
นพ. พงษ์พัฒน์ กล่าวว่า ส่วนการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมแพทย์ ที่เป็นปัญหา และถูกหยิบยกในการหารือกับกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์. ที่ระบุว่า มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแพทย์ 170,000 บาท นั้น ขอชี้แจงว่าค่าธรรมเนียมแพทย์ เป็น สิ่งที่แพทยสภากำหนดหลักเกณฑ์ ไม่สามารถเก็บแพงกว่านั้นได้ ซึ่งขณะนี้ก็ทราบว่า ทางแพทยสภากำลังจะออกหลักเกณฑ์ค่าธรรมเนียมแพทย์ใหม่ // ที่ผ่านมาไม่ใช่ เรื่องของรพ.เอกชนกำหนดราคาเลย ส่วนการล้มละลายจากการรักษาพยาบาล อยากให้เข้าใจว่า คนไทย มีสิทธิการรักษาที่รัฐ เข้ามาดูแล ครอบคลุม ทั้ง สิทธิหลักประกันสุขภาพ . ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ที่รัฐลงทุนดูแลอยู่แล้ว ซึ่งการรักษาพยาบาลตามสิทธิ ก็จะไม่มีค่าใช้จ่าย แต่หากมารับการรักษาที่ รพ.ที่ไม่ใช่สิทธิการรักษา ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ฉะนั้น อยากให้ประชาชน เลือกการรักษาพยาบาลตามเศรษฐฐานะ และหากเลือกรพ.เอกชน เป็นสถานพยาบาลทางเลือกในการรักษา ก็ต้องเผื่อและคำนวณค่าใช้เลือกเผื่อเหลือไว้ อีกทั้ง รัฐ ยังได้เพิ่มกลไก การดูแลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตสีแดง ให้สามารถรับการรักษาพยาบาลได้ในทุกโรงพยาบาลฟรี 72 ชม. ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น
นพ.พงษ์พัฒน์. กล่าวว่าโรงพยาบาลเอกชน ถือเป็นโรงพยาบาลทางเลือกในการรักษาพยาบาล โดยแต่ละปี มีประชาชนมารับการักษาผู้ป่วยนอก 60 ล้านครั้ง และ ผู้ป่วยใน 3. ล้านครั้ง นอกจากโรงพยาบาลเอกชน ยังเป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วย และทุกการบริการ คำนึง ถึงความปลอดภัย คุณภาพ และ ยังต้องรองรับความเสี่ยง
นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ อดีตนายกสมาคม โรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า เรียกร้องให้โรงพยาบาลของรัฐ แสดงใบเสร็จรับเงินเหมือนกับรพ.เอกชน ที่มีการ แสดง ค่าแรง ค่าบริการของทั้ง แพทย์ พยาบาล และ ค่าบริการอื่นๆ ให้กับประชาชนทั่วไปทราบ เพราะปัจจุบัน รพ.รัฐ และเอกชน อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลที่ต่างกัน โดยรพ.เอกชน อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ของ พ.ร.บ.สถานพยาบาล 2541 แต่รพ.รัฐ ไม่ใช่ และยังได้รับการลงทุนจากรัฐ วิชาชีพ แพทย์ พยาบาล มี พ.ร.บ.เงินเดือน ดูแล แต่ รพ.เอกชน ต้องหาค่าใช้จ่ายตรงนี้แทน การแสดงใบเสร็จที่ตรงกัน เพื่อความเข้าใจ เพราะในทางปฏิบัติรพ.รัฐ ไม่ได้มีการเรียกเก็บอยู่แล้ว .-สำนักข่าวไทย