กรุงเทพฯ 6 ม.ค. – ค่าฝุ่นละอองพีเอ็ม 2.5 ในกรุงเทพฯพุ่งเกินค่ามาตรฐาน 20 เขต สาเหตุเพราะอากาศเปลี่ยน ส่งผลท้องฟ้าปิด คาดอีก 1-2 วันจะเริ่มดีขึ้น
สำนักสิ่งแวดล้อมโดยกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (pm2.5) ประจำวันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม 2562 เวลา 08.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจวัดได้ในระหว่าง 43-83 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน
จำนวน 20 เขต คือ
1.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : 68 มคก./ลบ.ม.
2.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : 60 มคก./ลบ.ม.
3.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : 70 มคก./ลบ.ม.
4.เขตปทุมวัน บริเวณริมถนนจามจุรีสแควร์ เยื้อง MRT สามย่าน : 65 มคก./ลบ.ม.
5.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า :66 มคก./ลบ.ม.
6.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : 68 มคก./ลบ.ม.
7.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : 83 มคก./ลบ.ม.
8.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : 70 มคก./ลบ.ม.
9.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : 81 มคก./ลบ.ม.
10.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : 59 มคก./ลบ.ม.
11.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : 78 มคก./ลบ.ม.
12.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : 63 มคก./ลบ.ม.
13.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) : 68 มคก./ลบ.ม.
14.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : 70 มคก./ลบ.ม.
16.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : 68 มคก./ลบ.ม.
16.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : 64 มคก./ลบ.ม.
17.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : 71 มคก./ลบ.ม.
18.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : 64 มคก./ลบ.ม.
19.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน 64 มคก./ลบ.ม.
20.เขตราชเทวี บริเวณสำนักงานเขตราชเทวี : 58 มคก./ลบ.ม.
โดยผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร และสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษอยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ด้าน นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ที่เริ่มสูงขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สูงขึ้นมาอีก เพราะสภาพกำลังเข้าสู่ช่วงที่อากาศเปลี่ยนจากเย็น มาเป็นอุ่นขึ้น และเมื่ออากาศเย็น เจอกับอากาศอุ่น ทำให้เกิดภาวะที่สภาพอากาศนิ่ง ลมไม่พัด ประกอบกับมีหมอก ทำให้ไม่มีการหมุนเวียนสภาพอากาศปิด ทำให้มีการสะสมของฝุ่นละอองในอากาศเพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับการที่ กทม.มีตึกสูงมาก การระบายอากาศจึงทำได้น้อย อากาศลอยไปได้ทิศทางเดียว คือต้องลอยขึ้น ทั้งนี้จากการติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าลักษณะเช่นนี้จะเกิดขึ้นในอีก 1-2 วัน ก่อนที่สภาพอากาศจะค่อยๆเปิด และกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ระยะนี้จึงคำแนะนำ ให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรหลีกเลี่ยงหรือลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย N95 ขณะอยู่กลางแจ้งเพื่อสุขภาพ. -สำนักข่าวไทย