กรมโรงงานฯ ลุยโซนนิ่งพื้นที่อุตสาหกรรมเขตอีอีซี

กรุงเทพฯ  28 พ.ค. – กรมโรงงานฯ เตรียมวางแผนโครงการศึกษาการกำหนดพื้นที่โซนนิ่งอุตสาหกรรมเขตอีอีซี คาดรองรับการขยายตัวเพิ่มฐานการผลิต Super Cluster และ S-Curve พร้อมเปิดพื้นที่โซนนิ่งภาคการผลิตเพิ่ม 6 จังหวัด



นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมโรงงานฯ มีโครงการศึกษาการกำหนดพื้นที่โซนนิ่งอุตสาหกรรมที่จะเข้าไปตั้งแต่ละจังหวัดว่าจะมีประเภทใดเหมาะสมกับพื้นที่นั้นบ้าง โดยให้ความสำคัญกับการรับฟังความคิดเห็นจากพื้นที่ ซึ่งผลที่ได้จะนำมาเป็นแผนพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแต่ละจังหวัด เพื่อเป็นแนวทางการจัดเตรียมพื้นที่รองรับภาคอุตสาหกรรม และรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ของประเทศและศักยภาพของพื้นที่ โดยปี 2560 กำหนดศึกษาพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมจังหวัดเป้าหมาย 6 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์  น่าน  แพร่  ลำปาง  ลำพูน  และนครพนม


นายมงคล กล่าวต่อว่า จากการประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง พัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษหรือระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี)  ในปี 2561 กรมโรงงานฯ ยังเตรียมวางแผนดำเนินโครงการศึกษาพัฒนาโซนนิ่งพื้นที่อุตสาหกรรม เพื่อรองรับการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง  โดยอยู่ระหว่างเตรียมจัดทำเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และข้อกำหนดพื้นที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยมุ่งเน้นศึกษาและพัฒนาอุตสาหกรรมในกลุ่ม Super Cluster และ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเป็นแนวทางการจัดเตรียมพื้นที่รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ของประเทศและศักยภาพของพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล  

สำหรับการศึกษาจะดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมาย ครอบคลุมทุกปัจจัยในการพัฒนาอุตสาหกรรมและพัฒนาเมือง อาทิ ด้านข้อมูลศักยภาพของพื้นที่อุตสาหกรรม ข้อมูลด้านอุปสงค์และอุปทานของระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งในส่วนสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาเมืองเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดพื้นที่อุตสาหกรรมที่เหมาะสมในจังหวัดเป้าหมาย รวมทั้งจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมของบริเวณพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่เหมาะสมดังกล่าวให้มีความเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจ โครงข่ายคมนาคม ขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานที่มีผลต่อภาคการผลิต การค้า การลงทุน เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการใช้พื้นที่ ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซีจะรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นรายพื้นที่ตามศักยภาพของพื้นที่นั้น ๆ และเกิดการเชื่อมโยงในระดับ Super Cluster อย่างเป็นระบบ และลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์  โดยแผนพัฒนาโซนนิ่งพื้นที่อุตสาหกรรมนอกจากเป็นข้อมูลที่ดีแล้วยังเป็นแนวทางสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและส่งเสริมผู้ประกอบการที่กำลังจะเริ่มต้นประกอบกิจการต่าง ๆ ในพื้นที่อุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าว .-สำนักข่าวไทย 


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สาวซิ่งรถหรูชน 3 แม่ลูกเสียชีวิต เข้ามอบตัว

สาวขับรถหรู ชน 3 แม่ลูกเสียชีวิตที่ชุมพร เข้ามอบตัวกับตำรวจแล้ว อ้างยืมรถเพื่อนมาขับ ศาลให้ประกันตัววงเงิน 1 แสนบาท

สงขลาประกาศเขตภัยพิบัติแล้วทุกอำเภอ เร่งช่วยน้ำท่วมวิกฤติ

ผู้ว่าฯ สงขลา ลงนามประกาศให้ทั้ง 16 อำเภอ เป็นเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินอุทกภัยและวาตภัย เพื่อเร่งรัดให้ความช่วยเหลือประชาชน บรรเทาความเดือดร้อน โดย อ.จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย ยังมีระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้น

ข่าวแนะนำ

นายกฯ สั่งระดมช่วยน้ำท่วมใต้-เร่งเยียวยา

นายกฯ สั่งระดมช่วยเหลือน้ำท่วมใต้-เร่งมาตรการเยียวยา เผย ครม.เห็นชอบ 39 โครงการฟื้นฟูพื้นที่อุทกภัย เชียงใหม่-เชียงราย 641 ล้านบาท

เตรียมรื้อถอนคานถล่ม ถ.พระราม 2-กู้ร่างผู้สูญหาย

ช่วงบ่ายนี้ (29 พ.ย.) จนท.กรมทางหลวง สภาวิศวกรรมสถาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมนำรถเครนรื้อถอนเหล็กถักที่ถล่มบน ถ.พระราม 2 โดย ปภ.สมุทรสาคร ไม่มั่นใจว่าการดำเนินการจะจบภายในวันเสาร์-อาทิตย์นี้หรือไม่

คานถล่มพระราม2

ตร.ทางหลวง แนะเลี่ยงถนนพระราม 2 หลังการจราจรเข้าขั้นวิกฤต

ตำรวจทางหลวง เผยการจราจรถนนพระราม 2 เข้าขั้นวิกฤต แนะเส้นทางเลี่ยงทั้งขาเข้าและขาออกกรุงเทพมหานคร ยังไม่ชัดเปิดการจราจรได้ตามปกติเมื่อใด

คานถล่มพระราม2

“สุริยะ” สั่งผู้รับเหมาหยุดก่อสร้าง ถ.พระราม 2 ตัดสิทธิรับงาน 2 ปี

“สุริยะ” รมว.คมนาคม เผยเย็นวันนี้เตรียมกลับไปตรวจสอบสาเหตุคานเหล็กก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ถล่ม สั่งการผู้รับเหมาหยุดก่อสร้าง รวมทั้งตัดสิทธิรับงาน 2 ปี และขอให้เพิ่มความเข้มงวดมาตรการลดชั้นผู้รับเหมา เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุ